Page 1594 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1594

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชลประทาน

                       3. ชื่อการทดลอง             วิจัยพัฒนาระบบการผลิตมะเขือเทศในพื้นที่ราบริมน้ำโขงจังหวัด

                                                   นครพนม
                                                                     1/
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           วราพร  วงษ์ศิริวรรณ          พรทิพย์  แพงจันทร์ 1/
                                                   ญาณิน  สุปะมา 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              วิจัยพัฒนาระบบการผลิตมะเขือเทศในพื้นที่ราบริมน้ำโขง จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์

                       เพื่อพัฒนาระบบการผลิตพืชมะเขือเทศให้มีผลผลิตและคุณภาพสูงขึ้น และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

                       โดยทดสอบเพื่อพัฒนาระบบการปลูกพืช ในพื้นที่ราบริมน้ำโขงบ้านน้ำก่ำ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม
                       จังหวัดนครพนม ปี 2557 มีเกษตรกรร่วมดำเนินการจำนวน 4 ราย ปี 2558 มีเกษตรกรร่วมดำเนินการ

                       จำนวน 8 ราย ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ปี 2557 - 2558 ผลการดำเนินการทดสอบวิธีผสมผสาน
                       เปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีอย่างเดียวกับวิธีทดสอบแบบผสมผสานมีการจัดการดิน

                       การใช้ปุ๋ย และการใช้ชีวินทรีย์ผสมผสานกับการใช้สารเคมีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ผลการดำเนินงาน
                       ทดสอบในปี 2557 พบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ 3,225 กิโลกรัมต่อไร่ และ

                       3,113 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนในวิธีทดสอบสูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ

                       20,025 และ 19,500 บาทต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับในปี 2558 พบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่า
                       วิธีเกษตรกร คือ 5,042 กิโลกรัมต่อไร่ และ 5,680 บาทต่อไร่ ตามลำดับ คุณภาพผลผลิต ผลผลิตดี

                       ไม่มีโรคแมลงทำลายร้อยละ 96.1 และ 92.6 ตามลำดับ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนในวิธีทดสอบ

                       สูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ 30,255 และ 25,834 บาทต่อไร่ ตามลำดับ แต่เมื่อดูผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี พบว่า
                       กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ 4,453 กิโลกรัมต่อไร่ และ 4,078 บาทต่อไร่ ตามลำดับ

                       คิดเป็นร้อยละ 9.2 ในขณะเดียวกันผลการเก็บข้อมูลการเป็นโรคเหี่ยวมะเขือเทศในกรรมวิธีทดสอบที่มี

                       การไถตากดิน การหว่านปูนขาวอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส ป้องกันโรคเหี่ยว
                       สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้การเป็นโรคเหี่ยวลดลงน้อยกว่าวิธีเกษตรกรที่ไม่มีการจัดการดินและมีการ

                       ใช้สารเคมีอย่างเดียว คือ ร้อยละ 13 และ 24 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 45.9 และเมื่อการผลิตมะเขือเทศ
                       ของเกษตรกรนอกจากมีการแก้ไขปัญหาเรื่องศัตรูพืชแล้ว การจัดการปุ๋ยเพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพ

                       ผลผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว ในเรื่องรายได้ และผลตอบแทนในการผลิตมะเขือเทศในพื้นที่เฉลี่ย 2 ปี พบว่าวิธี

                       ทดสอบสูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ รายได้เฉลี่ย 35,618 และ 32,620 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ผลตอบแทน
                       เฉลี่ย คือ 25,139 และ 22,688 บาทต่อไร่ ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 10.8 ทั้งนี้ การยอมรับเทคโนโลยี

                       ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการไถตากดิน การปรับเปลี่ยนสูตรปุ๋ย และการใช้ชีวินทรีย์ รวมทั้งการให้เกษตรกร
                       ถอนต้นที่เป็นโรคออกนอกแปลง ยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลาที่ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมต่างๆ ของวิถี

                       ชีวิตเกษตรกร สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญด้วย

                       ___________________________________________
                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
                                                          1527
   1589   1590   1591   1592   1593   1594   1595   1596   1597   1598   1599