Page 1597 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1597
ในปี 2556 ได้ประเมินความพึงพอใจและการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร จำนวน 100 ราย
พบว่า เกษตรกรให้การยอมรับข้าวนาปี – ข้าวโพดฝักสดมากที่สุด เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย
เพียง 533 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ อายุสั้นและสามารถนำผลผลิตจำหน่ายเองได้ และขยายผลเทคโนโลยี
ผ่านระบบบริหารจัดการน้ำด้านการเกษตร จำนวน 56 ราย ปลูกข้าวนาปรัง เพราะน้ำไม่เพียงพอต่อการ
ทำการเกษตร ถ้าหากเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง เมื่อนำมาคำนวณคิดค่าตอบแทนทั้งระบบ พบว่า ปี 2557
มีผลตอบแทนทั้งระบบเฉลี่ย 2,435 บาทต่อไร่ ปี 2555 มีผลตอบแทนทั้งระบบเฉลี่ย 1,460 บาทต่อไร่
รูปแบบที่ 2 ผลผลิตข้าวโพดฝักสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.84 เมื่อนำมาคำนวณคิดค่าตอบแทนทั้งระบบ พบว่า
ปี 2557 มีผลตอบแทนทั้งระบบเฉลี่ย 3,590 บาทต่อไร่ ปี 2558 มีผลตอบแทนทั้งระบบเฉลี่ย 3,838 บาทต่อไร่
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
สามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่ที่มีระบบชลประทานที่มีระบบภูมินิเวศน์เดียวกันได้
ปี 2555 ได้ขยายผลเทคโนโลยี ระบบข้าว – ข้าวโพดฝักสด ผ่านโครงการบริหารจัดการน้ำ
ด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปยังพื้นที่ ชลประทานบ้านโคกท่าโพธิ์ ตำบลคำพระ
อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีเกษตรกรร่วมดำเนินการ 26 ราย
ปี 2556 ได้ขยายผลเทคโนโลยี ระบบข้าว – ข้าวโพดฝักสด ผ่านโครงการบริหารจัดการน้ำ
เพื่อการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปยังพื้นที่ชลประทานบ้านดอนแดง ตำบลห้วยไร่
อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีเกษตรกรร่วมดำเนินการ 30 ราย
1530