Page 1596 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1596

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชลประทาน

                       3. ชื่อการทดลอง             การทดสอบระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่เขตชลประทาน

                                                   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดอำนาจเจริญ
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           นิรมล  ดำพะธิก 1/            พจรจิตร์  นวลผิว 1/

                                                   สมชาย  เชื้อจีน 2/

                       5. บทคัดย่อ
                              การทดสอบระบบการปลูกพืชในเขตชลประทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาระบบการปลูกพืชที่

                       เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เกษตรกรในเขตชลประทาน โดยใช้แนวทางดำเนินงานระบบการทำฟาร์ม (FSR)

                       และการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม ดำเนินงานในแปลงเกษตรกรพื้นที่สูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านหนองปลิง
                       ตำบลดอนเมย อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ประเด็นปัญหา คือ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเกษตรกร

                       บางส่วนจะปลูกข้าวนาปรัง ไม่ค่อยปลูกพืชอายุสั้น ทำให้น้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหา
                       ดังกล่าว จึงได้ดำเนินการทดสอบระบบการปลูกพืชหลังนาในเขตชลประทานในแปลงใหญ่ ไม่มีซ้ำ จำนวน

                       3 รูปแบบ คือ 1) ระบบข้าวนาปี - ข้าวนาปรัง 2) ระบบข้าวนาปี - ถั่วลิสง 3) ระบบข้าวนาปี - ข้าวโพดฝักสด
                       เกษตรกรเข้าร่วมทดสอบ 5 รายๆ ละ 3 ไร่ ดำเนินการในปี 2554 - 2556 ที่บ้านหนองปลิง ตำบลดอนเมย

                       อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ผลการทดสอบ รูปแบบที่ 1 คุณสมบัติของดินพบว่า ดินจะมีความ

                       อุดมสมบูรณ์ขึ้น แต่อยู่ในปริมาณที่ต่ำคือไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ธาตุอาหารในดินอยู่ในระดับปานกลาง
                       ด้านผลผลิต พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยข้าวนาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ส่วนข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 46.7 สาเหตุที่

                       ข้าวนาปรังผลผลิตลดลง เนื่องจากเกิดสภาวะแล้งในพื้นที่ ทำให้ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตร

                       ค่าตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบเป็นเงิน 8,625 บาทต่อไร่ และวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน พบว่า
                       ในระบบข้าวนาปี – ถั่วลิสง จะมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ซึ่งกิจกรรมนั้นสามารถดำเนินได้มีกำไรและมี

                       ความเสี่ยงน้อย รูปแบบที่ 2 คุณสมบัติของดิน พบว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณธาตุอาหาร

                       ในดินอยู่ในระดับต่ำ ด้านผลผลิต พบว่า ผลผลิตถั่วลิสงและข้าวนาปีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.3 และ 2.7
                       ตามลำดับ ค่าตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบคิดเป็นเงิน 4,886 บาทต่อไร่ และวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ต่อการ

                       ลงทุน พบว่า ในระบบข้าวนาปี – ถั่วลิสง จะมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ซึ่งกิจกรรมนั้นสามารถดำเนินได้
                       มีกำไรและมีความเสี่ยงน้อย รูปแบบที่ 3 คุณสมบัติของดิน พบว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณ

                       ธาตุอาหารในดินเพิ่มขึ้น ด้านผลผลิต พบว่า ผลผลิตข้าวโพดฝักสดลดลง ร้อยละ 20.2 เนื่องจากน้ำ

                       ไม่เพียงพอในการปลูกพืช และข้าวนาปีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.3 สำหรับค่าตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบคิดเป็นเงิน
                       4,948 บาทต่อไร่ และวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน พบว่า ในระบบข้าวนาปี - ข้าวโพดฝักสด

                       มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ซึ่งกิจกรรมนั้นสามารถดำเนินได้มีกำไรและมีความเสี่ยงน้อย


                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ
                       2/ ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ
                                                          1529
   1591   1592   1593   1594   1595   1596   1597   1598   1599   1600   1601