Page 1606 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1606

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในเขตชลประทาน

                       3. ชื่อการทดลอง             ทดสอบระบบปลูกพืชข้าว - ถั่วลิสง ในพื้นที่เกษตรกร

                                                   Test of Rice – Peanut Cropping Systems in Famer Field
                                                                   1/
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           วีระพงษ์  เย็นอ่วม           สุจิตร  ใจจิตร 1/
                                                                1/
                                                   สุวิทย์  สอนสุข              จันทนา  ใจจิตร 2/
                                                   ยอด  กันยาประสิทธิ์ 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              การทดสอบระบบปลูกพืชข้าว – ถั่วลิสง ในพื้นที่เกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบ

                       การปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เกษตรกรในเขตชลประทาน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช
                       ในพื้นที่เกษตรกร ดำเนินการทดสอบในแปลงเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน

                       5 รายๆ ละ 2 ไร่ กรรมวิธีที่ทดสอบมี 2 กรรมวิธีคือ กรรมวิธีทดสอบเป็นการปลูกข้าวนาปี - ถั่วลิสง
                       และกรรมวิธีเกษตรกรเป็นการปลูกข้าวนาปี - ข้าวนาปรัง เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึง

                       กันยายน 2558
                              ผลการทดสอบทั้ง 2 ปี พบว่า กรรมวิธีทดสอบได้ผลผลิตข้าวนาปี - ถั่วลิสงเฉลี่ย 789 และ 417

                       กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ โดยมีต้นทุนผันแปรรวมทั้งระบบเฉลี่ย 7,143 บาทต่อไร่ รายได้สุทธิทั้งระบบ

                       เฉลี่ยเท่ากับ 8,684 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรได้ผลผลิตข้าวนาปี - ข้าวนาปรัง เฉลี่ย 775 และ
                       811 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ โดยมีต้นทุนผันแปรทั้งระบบเฉลี่ย 6,014 บาทต่อไร่ รายได้สุทธิทั้งระบบ

                       เฉลี่ยเท่ากับ 4,671 บาทต่อไร่ ซึ่งกรรมวิธีทดสอบ มีรายได้สุทธิเฉลี่ยสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร เท่ากับ

                       4,013 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 86 โดยเฉพาะการปลูกถั่วลิสง มีรายได้สุทธิสูงกว่าการปลูกข้าวนาปรัง
                       อีกทั้งการปลูกถั่วลิสงใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวนาปรัง เกษตรกรไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ

                       และยังสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินได้อีกทางหนึ่ง แต่กรรมวิธีทดสอบ (ข้าวนาปี - ถั่วลิสง)

                       มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ยทั้งระบบสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร (ข้าวนาปี - ข้าวนาปรัง) เท่ากับ 1,129 บาทต่อไร่
                       เนื่องจากการปลูกถั่วลิสงมีต้นทุนต่อไร่สูงกว่าการปลูกข้าวนาปรังเช่นกัน ส่วนสัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน

                       (Benefit Cost Ratio : BCR) ของกรรมวิธีทดสอบ และกรรมวิธีเกษตรกรเท่ากับ 2.2 และ 1.8 ตามลำดับ
                       แสดงว่าทั้ง 2 วิธี ผลิตได้คุ้มค่าต่อการลงทุน และมีผลกำไร เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการปลูกถั่วลิสงในพื้นที่นา

                       ที่มีลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว เนื่องจากทำให้ได้ผลผลิตต่ำและยากต่อการเก็บเกี่ยว อีกทั้งควรเลือก

                       พันธุ์ที่มีลักษณะตามความต้องการของตลาดในพื้นที่





                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์
                       2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
                                                          1539
   1601   1602   1603   1604   1605   1606   1607   1608   1609   1610   1611