Page 1610 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1610

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงภัย

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในภูมิภาค

                                                   ต่างๆ
                                                   Study on Sustainable Cropping Systems in the Landslide

                                                   Area at Various Parts of Thailand

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          สมชาย  บุญประดับ             สุริยนต์  ดีดเหล็ก 2/
                                                                    1/
                                                   บุญปิยธิดา  คล่องแคล่ว 3/    จิตอาภา  ชมเชย 4/

                                                   สุภชัย  วรรณมณี  5/          ปรีชา  แสงโสดา 6/

                                                   นพดล  แดงพวง  7/             ชนินทร์  ศิริขันตยากุล 8/
                       5. บทคัดย่อ

                              ได้ดำเนินการศึกษาระบบการปลูกพืชในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ
                       ตอนบนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงราย ภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัด

                       เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย ภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี และภาคใต้ที่จังหวัดสตูล
                       โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในภูมิภาค

                       ต่างๆ ของประเทศไทย ดำเนินการในไร่เกษตรกร ในปี 2557 - 2558 ผลการทดลอง พบว่าพื้นที่สูง

                       ภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่างได้จัดระบบการปลูกพืชที่มีกาแฟอะราบิก้าเป็นพืชหลักร่วมกับ
                       ไม้ยืนต้นเพื่อเป็นร่มเงาถาวรและเป็นพืชที่มีระบบรากลึกสามารถยึดดินไว้ ได้แก่ แมคคาเดเมีย อาโวกาโด

                       สะตอ เพกา และไม้ผลอื่นๆ รวมทั้งปลูกพืชเป็นแนวขวางความลาดชันเพื่อลดการพังทลายของดิน ได้แก่

                       ชา พืชผัก สมุนไพรฯ และระบบการปลูกพืชผสมผสาน โดยการปลูกไม้ผลผสมผสาน ได้แก่ มะขามเปรี้ยว
                       มะม่วง (แก้ว) และส้มโอ เป็นพืชหลัก ร่วมกับการปลูกพืชไร่อายุสั้น ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วลิสง แซมบริเวณ

                       แถวปลูกไม้ผล พื้นที่ลาดชันภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้จัดระบบการปลูกพืชที่มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                       เป็นพืชหลักร่วมกับพืชไร่ตระกูลถั่ว เช่น ถั่วนิ้วนางแดง ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกขวางแนวลาดชันเพื่อลด
                       การชะล้างของดิน พื้นที่ลาดชันภาคตะวันออก ได้จัดระบบการปลูกพืชที่มีมันสำปะหลังเป็นพืชหลัก




                       ___________________________________________

                       1/ สำนักผู้เชี่ยวชาญ
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน
                       3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย

                       4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์
                       5/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุตรดิตถ์
                       6/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย
                       7/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

                       8/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
                                                          1543
   1605   1606   1607   1608   1609   1610   1611   1612   1613   1614   1615