Page 1614 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1614

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงภัย

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่รับน้ำภาคกลาง

                                                   Study on Sustainable Cropping Systems in Floodway Area
                                                   of Central Parts

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          สมชาย  บุญประดับ             ละเอียด  ปั้นสุก 2/
                                                                    1/
                                                   ประสงค์  วงศ์ชนะภัย 3/       อานนท์  มลิพันธ์ 4/
                                                   จันทนา  ใจจิตร 2/

                       5. บทคัดย่อ

                              ได้ดำเนินการศึกษาระบบการปลูกพืชในพื้นที่รับน้ำภาคกลาง (floodway) พื้นที่ดำเนินการ
                       7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี และนนทบุรี โดยดำเนินการ

                       ปลูกพืชไร่อายุสั้นหลังน้ำลด ได้แก่ ถั่วเหลือง และข้าวโพด เปรียบเทียบกับข้าวนาปรัง และระบบเกษตร
                       ผสมผสาน ในปี 2557 - 2558 ผลการทดลองพบว่า พืชอายุสั้นที่มีศักยภาพและเหมาะสำหรับใช้ปลูกใน

                       พื้นที่รับน้ำจังหวัดชัยนาท คือ ถั่วเหลืองฝักสด (พันธุ์เชียงใหม่ 60, BCR = 3.54) และพันธุ์ลพบุรี 1,
                       BCR = 3.53) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (BCR = 2.79) เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวนาปรัง (BCR = 1.59 และ

                       1.91) จังหวัดสิงห์บุรี พบว่า พืชอายุสั้นที่มีศักยภาพ คือ ข้าวโพดฝักสด โดยเฉพาะข้าวโพดข้าวเหนียว

                       พันธุ์สวีทไวท์ 25 F1 (BCR = 3.66 และ 3.16) เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวนาปรัง (BCR = 2.45 และ 2.16)
                       จังหวัดอ่างทอง พบว่า พืชอายุสั้นที่มีศักยภาพ คือ ถั่วเหลืองฝักสด (พันธุ์เชียงใหม่ 60, BCR = 2.64 และ

                       2.46) และข้าวโพดฝักสด (BCR = 2.52) เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวนาปรัง (BCR = 1.15 และ 1.26)

                       จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า พืชอายุสั้นที่มีศักยภาพ คือ ถั่วเหลืองฝักสด (พันธุ์ลพบุรี, BCR = 3.11
                       และพันธุ์เชียงใหม่ 60, BCR = 2.18) และข้าวโพดฝักสด (BCR = 1.88) เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวนาปรัง

                       (BCR = 1.27 และ 1.59) จังหวัดลพบุรี พบว่า พืชอายุสั้นที่มีศักยภาพ คือ ข้าวโพดฝักสด (พันธุ์บิ๊กไวท์ 852,

                       BCR = 2.92 และ 3.11 และพันธุ์พไวโอเล็ท ไวท์ 926, BCR = 3.23 และ 2.87) จังหวัดสระบุรี พบว่า
                       พืชอายุสั้นที่มีศักยภาพ คือ ข้าวโพดฝักสด (พันธุ์บิ๊กไวท์ 852, BCR = 3.20) ในขณะที่พื้นที่รับน้ำจังหวัด

                       ปทุมธานีและนนทบุรี พบว่า ระบบเกษตรผสมผสาน เป็นระบบเกษตรที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบการ
                       ปลูกพืชที่มีไม้ผลเป็นพืชหลักร่วมกับการปลูกผักและการเลี้ยงปลาในร่องสวนไว้เป็นแหล่งอาหารโปรตีน

                       ใช้บริโภคในครัวเรือนหากเหลือจำหน่าย โดยการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชตามคำแนะนำ

                       ของกรมวิชาการเกษตรโดยเฉพาะการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในระบบการผลิตพืชผัก
                       ปลอดสารพิษเพื่อส่งตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะถั่วฝักยาว ทำให้เกษตรกรในจังหวัดปทุมธานีและ

                       นนทบุรี มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9 และ 61.8 ตามลำดับ
                       ___________________________________________

                       1/ สำนักผู้เชี่ยวชาญ
                       2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

                       3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี
                       4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี   1547
   1609   1610   1611   1612   1613   1614   1615   1616   1617   1618   1619