Page 1648 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1648
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis เพื่อใช้ควบคุมเชื้อรา
Alternaria brassicicola
Formulation of Bioproduct Bacillus subtilis for Controlling
Alternaria brassicicola
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน บุษราคัม อุดมศักดิ์ สุรีย์พร บัวอาจ 1/
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล 1/
5. บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบชีวภัณฑ์ B. subtilis (Bs) 20W1 ให้เป็นผลิตภัณฑ์สูตรผง โดยทำการทดสอบ
สารพา 6 ชนิด ได้แก่ ปลายข้าวกล้อง รำข้าว ซีโอไลท์ แป้งสาลี แป้งข้าวโพด และทัลคัม โดยเลี้ยง Bs ใน
อาหาร P : K (ปุ๋ยปลาหมักเหลว : กากถั่วเหลือง อัตรา 1 : 1) ซึ่งเป็นอาหารที่กระตุ้นการสร้างเอ็นโดสปอร์
นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25 + 5 องศาเซลเซียส) และในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ (5 + 2
องศาเซลเซียส) ตรวจเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดทุกเดือน โดยวีธี serial dilution plate technique
บนอาหาร PSA ผลการทดลอง พบว่า การใช้แป้งสาลี แป้งข้าวโพด และทัลคัมเป็นสารพา ได้ปริมาณเซลล์
Bs เริ่มต้นในผลิตภัณฑ์สูงที่สุดเท่ากับ 10 เซลล์ต่อมิลลิลิตร หลังการเก็บผลิตภัณฑ์ในอุณภูมิห้อง เป็นเวลา
8
15 เดือน พบว่า การใช้ทัลคัมเป็นสารพา ปริมาณ Bs ที่มีชีวิตรอดยังคงอยู่ในปริมาณสูงสุดคือ 3.8 x 10 7
เซลล์ต่อมิลลิลิตร สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เก็บในตู้เย็น พบว่า การใช้ทัลคัมและแป้งข้าวโพดเป็นสารพา มีปริมาณ
7
Bs ในผลิตภัณฑ์คงเหลือสูงสุดเท่ากับ 4.3 x 10 และ 1.0 x 10 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การทดสอบ
7
ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ Bs 6 สูตร ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้า พบว่า ผลิตภัณฑ์สูตรที่ใช้ซีโอไลท์
และทัลคัมเป็นสารพา สามารถลดการเกิดโรคคะน้าได้สูงสุด คือมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 0.06 และ
0.11 ตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่พ่นด้วยผลิตภัณฑ์สูตรที่ใช้
ปลายข้าว แป้งข้าวโพด รำข้าว และ แป้งสาลี และกรรมวิธีที่ไม่มีการพ่นด้วยผลิตภัณฑ์ Bs ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์
การเกิดโรคเท่ากับ 1.54 1.96 2.43 3.77 และ 3.82 ตามลำดับ การทดสอบอัตราที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์
Bs ที่ใช้ทัลคัมเป็นสารพา พบว่า ที่อัตรา 40 และ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพสูงสุดในการ
ควบคุมโรคใบจุดคะน้า โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคใบจุดเท่ากับ 1.22 และ 1.1.24 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่าง
ทางสถิติกับกรรมวิธีที่พ่นด้วยสารแมนโคเซบ 80 % WP ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 0.45
การทดสอบอัตราการละลายของผลิตภัณฑ์ Bs พบว่า การใช้แป้งข้าวโพด มีอัตราการละลายน้ำได้ดีที่สุด
รองลงมาได้แก่ การใช้ทัลคัม และแป้งสาลี เป็นสารพา สำหรับการใช้ปลายข้าวกล้อง รำข้าว และซีโอไลท์
อัตราการละลายน้ำต่ำสุด จากผลการทดลองสรุปว่า การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ Bs สูตรผงนั้น การใช้
_____________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1581