Page 1650 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1650
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบประสิทธิภาพของ Bacillus spp. ในการควบคุมโรคแอน-
แทรคโนสพริก สาเหตุจากเชื้อรา Colletrotrichum gloeosporioides
Efficacy of Bacillus spp. Antagonists for Controlling Chilli
Anthracnose Disease Cause by Colletrotrichum gloeosporioides
4. คณะผู้ดำเนินงาน บุษราคัม อุดมศักดิ์ สุรีย์พร บัวอาจ 1/
1/
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพของ Bacillus spp. ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสพริก สาเหตุจาก
เชื้อรา Colletrotrichum gloeosporioides (Cg) ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึง
กันยายน 2558 โดยนำ Bacillus spp. 5 ไอโซเลทที่ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการแล้ว ได้แก่
20W16 20W8 1G8 20W33 และ 20W5 มาทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคแอนแทรคโนส
ในแปลงปลูกพริกของเกษตรกรที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โดยวิธีการพ่น ทดสอบการแช่ผลพริก
หลังการเก็บเกี่ยว และทดสอบการคลุกเมล็ดติดเชื้อด้วยสารชีวภัณฑ์ B. subtilis ในการทดสอบการพ่นด้วย
cell suspension ของ Bacillus spp. 5 ไอโซเลท ผลการทดสอบ ในพริกรุ่นที่ 1 พบว่า ไอโซเลท 20W16
มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการเกิดโรคแอนแทรคโนส โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 47.76 ซึ่งไม่
แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่พ่นด้วยไอโซเลท 20W33 และกรรมวิธีที่พ่นด้วยสารแมนโคเซป 80% WP
ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 53.95 และ 54.61 ตามลำดับ ในพริกรุ่นที่ 2 พบว่า ไอโซเลท 20W33
มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการเกิดโรคและไม่แตกต่างทางสถิติกับไอโซเลท 20W16 และกรรมวิธีที่พ่น
ด้วยสารแมนโคเซบ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 43.89 46.36 และ 45.33 ตามลำดับ การทดสอบ
ประสิทธิภาพของ Bacillus spp. ในรูปสารชีวภัณฑ์สูตรผง 6 ไอโซเลท พบว่า กรรมวิธีที่พ่นด้วย
ไอโซเลท B23 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำสุด เท่ากับ 22.47 แต่ไม่แตกต่าง
ทางสถิติกับกรรมวิธีที่พ่นด้วยไอโซเลท 20W33 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค
เท่ากับ 28.59 โดยทั้ง 2 กรรมวิธีมีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่ไม่มีการพ่น Bs ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์
การเกิดโรคเท่ากับ 69.23 การทดสอบการแช่ผลพริกด้วยสารละลายสารชีวภัณฑ์ B. subtilis 20W16
พบว่าที่อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 30 นาที สามารถลดการเกิดโรคที่ติดมากับผลพริกสดได้
30 เปอร์เซ็นต์ โดยดูจากขนาดแผลโรคแอนแทรคโนสบนพริกเท่ากับ 0.86 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบ
กับกรรมวิธีที่แช่ด้วยน้ำเปล่า ซึ่งมีขนาดแผลโรคแอนแทรคโนสบนผลพริกเท่ากับ 1.22 เซนติเมตร โดยทุก
กรรมวิธีมีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่แช่ด้วยน้ำเปล่า การทดสอบการคลุกเมล็ดที่ติดเชื้อรา
C. gloeosporioides ด้วยสารชีวภัณฑ์ B. subtilis 20W16 พบว่าที่อัตรา 50 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1583