Page 1667 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1667
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง, Exallomochlus
hispidus (Morrison) ในลองกอง
Efficacy of Some Insecticides on Mealybugs (Exallomochlus
hispidus (Morrison)) in Longkong
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วนาพร วงษ์นิคง ศรุต สุทธิอารมณ์ 1/
บุษบง มนัสมั่นคง วิภาดา ปลอดครบุรี 1/
1/
1/
ชมัยพร บัวมาศ ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ 2/
5. บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Exallomochlus hispidus (Morrison)
ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2558 ที่แปลงเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี
เปรียบเทียบสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช 6 ชนิด ได้แก่ สาร imidacloprid 7 0 % WG,
thiamethoxam 25% WG, dinotefuran 10% WP, carbosulfan 20% EC, carbaryl 85% WP และ
petroleum spray oil 83.9% EC ที่อัตรา 4 กรัม 20 กรัม 50 มิลลิลิตร 60 กรัม และ 60 มิลลิลิตร
ต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชทั้ง 6 ชนิด มีประสิทธิภาพ
ควบคุมเพลี้ยแป้ง เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร โดยที่ carbosulfan 20% EC อัตรา 50
มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยแป้งได้ดี สามารถลดจำนวนเพลี้ยแป้งหลังจาก
พ่นสาร 3 วัน ส่วนสารเคมีชนิดอื่นๆ มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันในแต่ละปี หลังพ่นสารเคมี 7 วัน
เก็บตัวอย่างผลลองกองไปทำการวิเคราะห์สารพิษตกค้างจำนวน 2 ครั้ง พบว่าสารเคมีที่ใช้อยู่ในเกณฑ์
ที่ปลอดภัยในการบริโภค ยกเว้นสาร carbaryl ซึ่งครั้งที่ 1 พบสารพิษตกค้างเฉลี่ย 0.595 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม ครั้งที่ 2 พบสารพิษตกค้างเฉลี่ย 1.44 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งควรมีการเว้นการพ่นสารเคมี
ก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 14 วัน
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ได้ชนิดของสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Exallomochlus
hispidus (Morrison) ในลองกอง อย่างน้อย 1 ชนิด เพื่อเป็นข้อมูลแนะนำและเผยแพร่ต่อไป
2. หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ภาคธุรกิจเอกชน และกลุ่มเกษตรกร
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1600