Page 1669 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1669
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย วิจัยการศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย
ในมะละกอ
Efficacy of Some Insecticides for Controlling Mealybug and
Oriental Scale on Papaya
4. คณะผู้ดำเนินงาน พวงผกา อ่างมณี สุเทพ สหายา 1/
1/
1/
ชมัยพร บัวมาศ สุภางคนา ถิรวุธ 1/
สุชาดา สุพรศิลป์ 1/
5. บทคัดย่อ
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย ในมะละกอ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิด
และอัตราที่เหมาะสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อใช้แนะนำการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย
ในมะละกอ ทำการทดลองที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ระหว่างเดือนมีนาคม 2555 ถึงกรกฎาคม
2558 วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีพ่นสาร thiamethoxam 25% WG
(Actara), imidacloprid 70% WG (Provado), dinotefuran 10% WP (Starkle), clothianidin 16% SG
(Dantosu), acetamiprid 20% SP (Molan), pymetrozine 50% WG (Plenum) อัตรา 4, 4, 20 ,15,
10 และ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า โดยใช้มะละกอ 1 ต้นต่อซ้ำ สุ่มนับเพลี้ยแป้ง
บนต้นและผลมะละกอ จำนวน 10 ผลต่อซ้ำ โดยสุ่มให้กระจายทั่วทั้งต้น เริ่มพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อพบ
การระบาดของเพลี้ยแป้งมากกว่า 2 ตัวต่อผล ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยก่อนพ่นสาร
และหลังพ่นสาร 5 และ 7 วัน ทำการทดลองซ้ำเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาด ผลการทดลองพบว่า การพ่นสาร
thiamethoxam 25% WG (Actara), imidacloprid 70% WG (Provado), dinotefuran 10% WP
(Starkle), clothianidin 16% SG (Dantosu), acetamiprid 20% SP (Molan), pymetrozine 50% WG
(Plenum) อัตรา 4, 4, 20, 15, 10 และ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัด
เพลี้ยแป้ง และทุกกรรมวิธีไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษกับต้นและผลมะละกอ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. การทดลองที่คาดว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในปี 2558 ได้ชนิดและอัตราของสารป้องกันกำจัด
ศัตรูพืช ที่มีแนวโน้มมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในมะละกอ อย่างน้อย 1 ชนิด
2. กลุ่มเป้าหมายคือ สำหรับเป็นข้อมูลแนะนำให้เกษตรกร บริษัทผู้ส่งออก นักส่งเสริมการเกษตร
และนักวิชาการ
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1602