Page 1676 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1676
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย ศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
3. ชื่อการทดลอง การคัดเลือกสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ
(Tobacco whitefly), Bemisia tabaci Gennadius ในพริก
Field Trial on Effectiveness of Some Insecticides for Controlling
(Tobacco whitefly), Bemisia tabaci Gennadius on Chili
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน สุภางคนา ถิรวุธ วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร 1/
สิริกัญญา ขุนวิเศษ สุชาดา สุพรศิลป์ 1/
1/
สรรชัย เพชรธรรมรส 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงชนิดต่างๆ ในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ
(Tobacco whitefly), Bemisia tabaci Gennadius ในพริก ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกร
อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม 2557 และทำการทดลองซ้ำ
ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม 2558 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 6 กรรมวิธี คือ
พ่นสาร buprofezin 40% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร, พ่นสาร pymetrozine 50% WG
อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร, พ่นสาร acetamiprid 20% SP อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร, พ่นสาร
spiromesifen 24% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และ พ่นสาร white oil อัตรา 100 มิลลิลิตร
ต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่ใช้สาร ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีพ่นสาร spiromesifen
24% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในพริกได้ดีที่สุด
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้ชนิดและอัตราการใช้สารในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบในพริก เพื่อนำไปใช้แนะนำ
ให้แก่เกษตรกรต่อไป
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1609