Page 1678 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1678

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             ศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและผลกระทบต่อ

                                                   ศัตรูธรรมชาติในอ้อย
                                                   Efficiency  of  Insecticides  for  Controlling  Sugarcane  Borer

                                                   and Effective on Natural Enemies

                                                                           1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          วรวิช  สุดจริตธรรมจริยางกูร    พฤทธิชาติ  ปุญวัฒโท 1/
                                                                 1/
                                                   สุภางคนา  ถิรวุธ             สุชาดา  สุพรศิลป์ 1/
                                                   สรรชัย  เพชรธรรมรส 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและผลกระทบ

                       ต่อศัตรูธรรมชาติ ดำเนินการทดลองในแปลงอ้อยของเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างเดือน
                       กรกฎาคม 2557 ถึงกรกฎาคม 2558 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 7 กรรมวิธี ได้แก่

                       กรรมวิธีพ่นสาร deltamethrin 3% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, lufenuron 5% EC อัตรา
                       20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, indoxacarb 15% SC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, spinosad 12% SC

                       อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

                       และ chlorantraniliprole 20% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร
                       การทดลองที่ 1 พบว่าทุกกรรมวิธีที่พ่นสาร มีเปอร์เซ็นต์ยอดเหี่ยวจากการทำลายของหนอนกออ้อย

                       น้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับกรรมวิธีที่ไม่พ่นสาร และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง

                       กรรมวิธีที่พ่นสารฆ่าแมลงพบว่า ทุกกรรมวิธีให้ผลในการป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยได้เทียบเท่ากัน
                       โดยสามารถลดระดับอาการยอดเหี่ยวจากการทำลายของหนอนกออ้อยอยู่ในระดับต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

                       แต่สาร indoxacarb 15% EC มีประสิทธิภาพในการลดระดับอาการยอดเหี่ยวจากการทำลายของ

                       หนอนกออ้อยได้ดีที่สุด การทดลองที่ 2 พบว่ามีเพียงกรรมวิธีที่พ่นสาร indoxacarb 15% EC, spinosad
                       12% SC และ chlorantraniliprole 20% EC ที่มีเปอร์เซ็นต์ยอดเหี่ยวจากการทำลายของหนอนกออ้อย

                       น้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ไม่พ่นสาร และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
                       กรรมวิธีที่พ่นสารฆ่าแมลงพบว่า กรรมวิธีที่พ่นสาร chlorantraniliprole 20% EC มีประสิทธิภาพในการ

                       ลดระดับอาการยอดเหี่ยวจากการทำลายของหนอนกออ้อยได้ดีที่สุด ผลกระทบของสารฆ่าแมลงแต่ละ

                       กรรมวิธีที่มีต่อแตนเบียนไข่ Trichogramma spp. เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร หรือค่า (E%) นั้น





                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


                                                          1611
   1673   1674   1675   1676   1677   1678   1679   1680   1681   1682   1683