Page 1703 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1703
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย ศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาอัตราการพ่นสารที่เหมาะสมด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลัง
แบบใช้แรงดันน้ำ (Motorized knapsack power sprayer) ในกลุ่ม
พืชเถาเลื้อย
Study on Appropriate Spray Volume by Using the Motorized
Knapsack Power Sprayer on Creeper Plant Group
4. คณะผู้ดำเนินงาน สุภางคนา ถิรวุธ วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร 1/
1/
สิริกัญญา ขุนวิเศษ สุชาดา สุพรศิลป์ 1/
1/
สรรชัย เพชรธรรมรส 1/
5. บทคัดย่อ
ศึกษาอัตราการพ่นสารที่เหมาะสมด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำในกลุ่มพืช
เถาเลื้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบอัตราการพ่นสารที่เหมาะสมในกลุ่มพืชเถาเลื้อย โดยใช้พืชตัวแทนคือ
แตงโมและฟักทอง ดำเนินการทดลองในสภาพไร่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ถึงเดือนสิงหาคม 2558
วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 6 กรรมวิธี คือ พ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลัง
แบบใช้แรงดันน้ำ อัตราพ่น 60, 70, 80 และ 100 ลิตรต่อไร่ เปรียบเทียบกับการพ่นด้วยเครื่องสูบโยก
สะพายหลัง อัตราพ่น 80 ลิตรต่อไร่ และกรรมวิธีของเกษตรกร (พ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลัง
แบบใช้แรงดันน้ำ อัตราการพ่น 120 ลิตรต่อไร่) ผลการทดลองสรุปได้ว่ากรรมวิธีการพ่นด้วยเครื่องยนต์
พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงดันน้ำที่อัตรา 80 ลิตรต่อไร่ พบความหนาแน่นของละอองสารบนต้นพืช
ทั้งด้านในและด้านนอกแปลงปลูก รวมทั้งมีปริมาณการตกสู่เป้าหมายของละอองสารบนต้นพืชสูงสุด
ซึ่งมากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการพ่นด้วยเครื่องสูบโยกสะพายหลังอัตราพ่น 80
ลิตรต่อไร่ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกรที่พ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลัง
แบบใช้แรงดันน้ำ อัตราการพ่น 120 ลิตรต่อไร่ พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ สำหรับปริมาณการตก
ของละอองสารบนตัวผู้พ่นสารในทุกกรรมวิธีพบว่าบริเวณส่วนล่างของลำตัว ได้แก่ บริเวณหน้าแข้งและ
ต้นขาพบปริมาณการตกของละอองสารบนตัวผู้พ่นสารสูงสุด
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้อัตราการพ่นสารที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงดันน้ำ
(Motorized knapsack power sprayer) ในกลุ่มพืชเถาเลื้อยเพื่อใช้เป็นคำแนะนำ
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1636