Page 1763 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1763
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย อนุกรมวิธาน ชีววิทยาและเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรู
ธรรมชาติ
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาโครโมโซมและเขตการกระจายของหอยสกุล Pomacea
ในประเทศไทย
Chromosomal Studies and the Distribution of Snail Genus
Pomacea in Thailand
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน ดาราพร รินทะรักษ์ ณัฐฐิญา กาญจนนิธิพัฒน์ 1/
อภินันท์ เอี่ยมสุวรรณสุข ปราสาททอง พรหมเกิด 1/
1/
5. บทคัดย่อ
ดำเนินการสำรวจการระบาด หรือเก็บตัวอย่างและบันทึกพิกัดภูมิศาสตร์พื้นที่ๆ เก็บตัวอย่าง
ตามแผนการสำรวจ พบว่าหอยเชอรี่สกุล Pomacea มีเขตการกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย
เมื่อศึกษา feeding behavior พบว่าหอยเชอรี่สามารถกินได้ตลอดเวลา คิดเป็นน้ำหนักอาหารที่กิน
โดยเฉลี่ย 49.66 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน (n=30) หอยเชอรี่จะวางไข่สีชมพูไว้ตามต้นพืชหรือวัสดุ
ที่อยู่เหนือน้ำ ขนาดของกลุ่มไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.11 - 22.20 มิลลิเมตร ยาว 15.32 - 55.92
มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของไข่ 1.65 - 2.49 มิลลิเมตร ไข่หอยเชอรี่มีจำนวน 286 - 4,303 ฟอง
เมื่อนำค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของไข่มาคำนวณค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย ANOVA พบว่า
มีอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95, 99 และ
99.9 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธีของ Tukey’s HSD และ Scheffe ที่ระดับความ
เชื่อมั่น 99.9 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามีการแบ่งกลุ่มออกเป็นอย่างน้อย 2 กลุ่ม
การศึกษาสัณฐานวิทยาของเปลือกหอยเชอรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิค morphometrics
ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาจากตัวอย่างหอยบางส่วนที่เก็บจากพื้นที่ภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยวัดค่า
shell length, shell width, last whorl height, aperture length และ aperture width วิเคราะห์
ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ ANOVA จากโปรแกรม SPSS จากนั้นนำข้อมูลลักษณะสัณฐานวิทยาของเปลือกหอย
ที่วิเคราะห์แล้วมาเปรียบเทียบเพื่อคัดเลือกตัวอย่างที่มีความแตกต่างกัน ไปศึกษาจำนวนโครโมโซมและ
การจัดเรียงคาริโอไทป์ โครโมโซมจากเซลล์เหงือกทั้งเพศผู้และเพศเมียมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์
เท่ากับ 28 (2n=28) แบ่งรูปแบบตามชนิดได้ดังนี้ metacentric 5 คู่ submetacentric 7 คู่ และ
acrocentric 2 คู่ โดยไม่มีโครโมโซมเพศที่จะแสดงลักษณะเพศผู้หรือเพศเมีย
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1696