Page 1823 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1823
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย มาตรการสุขอนามัยพืชในการนำเข้าสินค้าเกษตร
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์
ข้าวลูกผสมจากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Study on Phytosanitary Measures for the Importation of
Hybrid Rice Seeds from Philippines
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ณัฏฐพร อุทัยมงคล สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ 1/
วาสนา ฤทธิ์ไธสง อลงกต โพธิ์ดี 1/
1/
วารีรัตน์ สมประทุม ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล 1/
1/
5. บทคัดย่อ
เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม จัดเป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบัน
มีการอนุญาตให้นำเข้าจากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เพื่อใช้ในการทดลองหรือวิจัยเท่านั้น แต่ยังไม่อนุญาต
ให้นำเข้าเพื่อการค้า อย่างไรก็ตามประเทศฟิลิปปินส์มีลักษณะทางสภาพภูมิอากาศและภูมิศาสตร์
ของแหล่งปลูกข้าวที่ใกล้เคียงกับในประเทศไทย แต่มีศัตรูพืชบางชนิดที่แตกต่างจากประเทศไทย
จึงมีความเสี่ยงที่จะมีศัตรูพืชร้ายแรงติดเข้ามาและจะทำความเสียหายได้ จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้ทราบ
ชนิดศัตรูพืชกักกันสำหรับนำไปกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชที่เหมาะสม เพื่อจัดการความเสี่ยงศัตรูพืช
กักกันที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมที่นำเข้า ผลการรวบรวมข้อมูลศัตรูข้าวพบทั้งสิ้นจำนวน 913
ชนิด โดยพบว่าเป็นศัตรูข้าวในประเทศไทยหรือฟิลิปปินส์หรือทั้ง 2 ประเทศ จำนวน 355 ชนิด
และผลการสุ่มตัวอย่างและตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์ จำนวน 12 ครั้ง รวม 1,722
ตัวอย่าง ไม่พบศัตรูพืชกักกัน ซึ่งศัตรูพืช 355 ชนิด มี 68 ชนิดที่สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวซึ่งเป็น
เส้นทางศัตรูพืชได้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชในขั้นตอนการจัดกลุ่มศัตรูพืช (Pest
categolization) พบว่ามีศัตรูพืชที่ไม่พบในประเทศไทยแต่พบในฟิลิปปินส์และติดเข้ามากับเมล็ดข้าวได้
ซึ่งหากเข้ามาและแพร่กระจายอาจเกิดผลกระทบได้มีทั้งหมดจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ Burkholderia
glumae, Gibberella zeae, Trogoderma granarium, Aphelenchoides besseyi, Pseudomonas
fuscovaginae, Balansia oryzae-sativae และ Lolium temulentum มาเข้ากระบวนการประเมิน
ความเสี่ยง โอกาสที่จะเข้ามาแพร่กระจายและอาจเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
พบศัตรูพืชทั้ง 7 ชนิด เป็นศัตรูพืชกักกัน โดย Burkholderia glumae และ Gibberella zeae มีความ
เสี่ยงในระดับสูง Trogoderma granarium, Aphelenchoides besseyi, Pseudomonas fuscovaginae,
Balansia oryzae-sativae และ Lolium temulentum มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง ซึ่งควรกำหนด
มาตรการสุขอนามัยพืชในการจัดการความเสี่ยงดังนี้ เมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำเข้าต้องไม่มีดิน แมลงที่มีชีวิต
เศษซากพืชติดมาด้วย และมีใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ระบุข้อความเพิ่มเติมว่า “เมล็ดพันธุ์ข้าวต้องมาจาก
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1756