Page 1830 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1830

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             มาตรการสุขอนามัยพืชในการส่งออกสินค้าเกษตร

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษามาตรการสุขอนามัยพืชในการส่งออกผลส้มโอ

                                                   Study on Phytosanitary Measures for the Exportation of Fresh
                                                   Pummelo Fruit

                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           วรัญญา  มาลี                 สุคนธ์ทิพย์  สมบัติ 1/
                                                              1/
                                                                1/
                                                   ภัทรา  อุปดิษฐ์              บุษบง  มนัสมั่นคง 1/
                                                   พรพิมล  อธิปัญญาคม           ณัฏฐิมา  โฆษิตเจริญกุล 1/
                                                                     1/
                                                   ศิริพร  ซึงสนธิพร 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              การศึกษามาตรการสุขอนามัยพืชในการส่งออกผลส้มโอ ดำเนินการที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช

                       สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช สวนส้มโอของเกษตรกร จังหวัดสมุทรสาคร และสระแก้ว สถานที่
                       คัดบรรจุส้มโอ จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2558 เพื่อจัดทำข้อมูลพืช

                       และศัตรูพืชสำหรับเสนอเปิดตลาดผลส้มโอไปต่างประเทศล่วงหน้า ผลการดำเนินงานได้ข้อมูลทั่วไป
                       เกี่ยวกับส้มโอ เช่น การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังเก็บเกี่ยว ข้อมูลศัตรูส้มโอ

                       ในประเทศไทย เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ส่วนของพืชที่ศัตรูพืชเข้าทำลาย และกระบวนการรับรอง

                       สุขอนามัยพืชของผลส้มโอส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน สำหรับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง
                       ศัตรูพืชเบื้องต้นพบว่าศัตรูพืชที่มีโอกาสเป็นศัตรูพืชกักกัน มีจำนวน 22 ชนิด ได้แก่ ไร Eotetranychus

                       cendanai และ Schizotetranychus baltazari เพลี้ยหอย Aonidiella aurantii, Ceroplastes

                       rubens,  Coccus  hesperidum,  Coccus  mangiferae,  Coccus  viridis,  Ferrisia  virgate  แ ล ะ
                       Parlatoria cinerea เพลี้ยแป้ง Ferrisia virgata, Nipaecoccus viridis, Planococcus lilacinus,

                       Pseudococcus cryptus, Rastrococcus spinosus, Rastrococcus tropicasiaticus เพลี้ยไก่แจ้

                       ได้แก่ Diaphorina citri หนอนเจาะผล Citripestis sagittiferella หนอนชอนใบ (ชอนผล) Phyllocnistis
                       citrella นอกจากนี้ประเทศคู่ค้าอาจพิจารณาว่าแมลงวันผลไม้บางชนิดมีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันได้

                       เนื่องจากหากส้มโอมีแผลเปิดที่เกิดจากการทำลายของศัตรูพืชชนิดอื่น ย่อมมีโอกาสที่แมลงวันผลไม้
                       จะวางไข่ในรอยแผลเปิดนั้นได้ สำหรับแนวทางการกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชที่มีศักยภาพ

                       เป็นศัตรูพืชกักกันในส้มโอส่งออก ประกอบด้วย วิธีการตรวจสอบ (inspection) การบูรณาการในแนวทาง

                       ดำเนินการรูประบบ (system approach) การฉายรังสี (irradiation) การใช้ความร้อน และการจุ่ม
                       ด้วยสารเคมีกำจัดราก่อนส่งออก เป็นต้น

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              ได้ทราบข้อมูลล่วงหน้าเพื่อใช้ในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรไปต่างประเทศ

                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


                                                          1763
   1825   1826   1827   1828   1829   1830   1831   1832   1833   1834   1835