Page 1930 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1930
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
3. ชื่อการทดลอง ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์แอมโมเนียมไนโตรเจนในปุ๋ยเคมี
Method Validation on Analysis of Ammonium Nitrogen in
Chemical Fertilizers
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน สรัญญา ช่วงพิมพ์ เยาวลักษณ์ แสงแก้ว 1/
1/
พิรุณ ติระพัฒน์ อนนท์ สุขสวัสดิ์ 1/
5. บทคัดย่อ
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์แอมโมเนียมไนโตรเจนในปุ๋ยเคมี เป็นการพัฒนา
ปรับปรุง หรือดัดแปลงวิธีการวิเคราะห์ให้มีความเหมาะสมกับห้องปฏิบัติการ วิธีการที่ห้องปฏิบัติการ
วิเคราะห์ปุ๋ย กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิตใช้นั้น ดัดแปลงมาจากวิธีการของ OMAF
(Official Method of Analysis of Fertilizers (1987), 4.1.2) ทำการประเมินความถูกต้อง (Accuracy)
ความเที่ยง (Precision) และปริมาณต่ำสุดที่สามารถวัดได้ (Limit of Detection) โดยการวิเคราะห์
CRM/SRM และวิเคราะห์ตัวอย่างรับรองในสารตัวเติม (Sample Blank + CRM/SRM) ผลการวิเคราะห์
CRM/SRM และ Sample Blank + CRM/SRM ที่ 3 ระดับความเข้มข้น คือต่ำ (1.00 เปอร์เซ็นต์)
กลาง (13.04 เปอร์เซ็นต์) และสูง (21.20 เปอร์เซ็นต์) ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ Recovery ใน CRM เท่ากับ 100,
100.05 และ 100.09 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ใน Sample Blank + CRM/SRM เท่ากับ 100, 99.97 และ
100.09 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประเมินความเที่ยงแบบ Repeatability Precision ที่ระดับความเข้มข้น
ต่ำ กลาง สูง โดยใช้สมการของ Horwitz's Ratio ได้ค่า HORRAT ใน CRM/SRM เท่ากับ 0.32, 0.61
และ 0.29 ตามลำดับ ใน Sample Blank + CRM/SRM ได้เท่ากับ 0.52, 0.49 และ 0.33 ตามลำดับ
ประเมินความเที่ยงแบบ Intermediate Precision ที่ระดับความเข้มข้นต่ำ กลาง สูง ใน CRM/SRM
ได้ค่า HORRAT เท่ากับ 0.19, 0.25 และ 0.19 ตามลำดับ ใน Sample Blank + CRM/SRM ได้เท่ากับ
0.37, 0.31 และ 0.21 ตามลำดับ หาปริมาณต่ำสุดที่สามารถวัดได้ (LOD) เท่ากับ 0.10 เปอร์เซ็นต์
และปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์และรายงานผลได้ (LOQ) เท่ากับ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าที่ได้
ทั้งหมดนั้นผ่านเกณฑ์การยอมรับตามมาตรฐานสากล ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าวิธีการวิเคราะห์นี้เหมาะกับการ
ใช้งานตามวัตถุประสงค์
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. นำวิธีที่ได้ผ่านการทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์แอมโมเนียมไนโตรเจน มาเป็นวิธีวิเคราะห์
มาตรฐานของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและ
พัฒนาการเกษตร เขตที่ 8
2. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาใช้ประกอบในการยื่นขยายขอบข่ายการรับรอง
ISO/IEC 17025: 2005 ในขอบข่ายการหาปริมาณแอมโมเนียมไนโตรเจนในปุ๋ยเคมีกับหน่วยรับรอง
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
1863