Page 1934 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1934
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาอิทธิพลของสารละลายต่างๆ ที่ใช้ในการสกัด และขั้นตอนการกลั่น
ที่เหมาะสมเพื่อใช้หาค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน
The Study of Appropriate Extracting Solution and Distillation
Process for Determining Soil Cation Exchange Capacity
4. คณะผู้ดำเนินงาน สุภา โพธิจันทร์ จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์ 1/
1/
ญาณธิชา จิตต์สะอาด พจมาลย์ แก้ววิมล 1/
1/
5. บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC) ในกลุ่มงานวิจัยระบบตรวจสอบคุณภาพ
ดินและน้ำ กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร มีความยุ่งยากและใช้เวลา
ในการวิเคราะห์นาน นอกเหนือจากการเตรียมตัวอย่างดินและการดำเนินการอื่นๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ
พัฒนาวิธีวิเคราะห์ให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยวิเคราะห์ ในตัวอย่างดินอ้างอิงภายใน (IRM)
และวัสดุอ้างอิงรับรอง (CRM) ที่มีค่า CEC ต่ำ ปานกลาง สูง วิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานและวิธีการ
เปลี่ยนแปลงตัวแปรต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการวิเคราะห์ทั้งหมด 7 ตัวแปร ทำการทดลอง n+1 หรือ
8 การทดลอง พบว่า การเปลี่ยนตัวแปรต่างๆ จะมีผลต่อผลการวิเคราะห์ในดินที่มี CEC สูงมากกว่าดินที่มี
ปริมาณ CEC ปานกลางและต่ำ และตัวแปรที่มีผลต่อผลการวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญ คือ เปลี่ยนจาก
การชะดินด้วย 1M NH OAc เป็นการเขย่าดินด้วย 1M NH OAc ไม่มีขั้นตอนการชะดินด้วย 0.25M
4
4
NH Cl และ เปลี่ยนจากการชะดินด้วย 40% Ethanol เป็นชะดินด้วย 95% Ethanol ส่วนตัวแปรอื่นๆ
4
ไม่มีผลต่อผลการวิเคราะห์ จากผลการศึกษาสามารถลดเวลาในการกลั่นลงได้จากตัวอย่างละ 5 นาที
เป็นตัวอย่างละ 80 วินาที ทำให้สามารถประหยัด และลดเวลาในการวิเคราะห์ลงได้ จากนั้นทำการ
เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ระหว่างวิธีเดิมและวิธีใหม่ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่า วิธีใหม่
ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้แทนวิธีมาตรฐานเดิมที่ใช้ในห้องปฏิบัติการได้ และเพื่อพิสูจน์ความสามารถ
ของวิธีวิเคราะห์ใหม่ที่ได้ จึงต้องทำการศึกษาช่วงความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐานของวิธีวิเคราะห์
(Range), ช่วงความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐานที่จะนำมาใช้งาน (Linearity), ปริมาณต่ำสุดที่สามารถ
วิเคราะห์ได้ (Limit of detection, LOD), ปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์และรายงานผลได้ (Limit of
quantitation, LOQ), ความถูกต้องของการวิเคราะห์ (Accuracy) ที่ระดับ CEC สูง กลาง และต่ำ
และความแม่นยำของการวิเคราะห์ (Precision) โดยวิเคราะห์วัสดุอ้างอิงภายใน (Internal reference
material, IRM) โดยใช้ IRM ชุดดินลพบุรี (IRM-Lb) ที่ผ่านการเตรียมที่ได้มาตรฐาน สามารถทวนกลับไปยัง
Certified reference material, CRM ได้ ซึ่งมีค่า CEC 39.82 cmol .kg จากการตรวจสอบความใช้ได้
-1
c
-1
ของวิธีวิเคราะห์ พบว่า Range ที่ช่วง 0-42 cmol .kg กราฟแสดงความเป็นเส้นตรง โดยมีค่า
c
___________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1867