Page 1937 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1937
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
3. ชื่อการทดลอง เปรียบเทียบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน
Interlaboratory Comparison an External Quality Assessment
to Evaluate the Laboratory Analytical Performance
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน พจมาลย์ ภู่สาร จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์ 1/
ญาณธิชา จิตต์สะอาด จิตติรัตน์ ชูชาติ 1/
1/
เจนจิรา เทเวศร์วรกุล 1/
5. บทคัดย่อ
กิจกรรมเปรียบเทียบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน จัดขึ้นเพื่อเป็นการ
เปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีในตัวอย่างดิน ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง อินทรียวัตถุ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และค่าการนำไฟฟ้า ซึ่งเป็นรายการพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ดินในประเทศไทย
โดยในปีงบประมาณ 2557 ได้เชิญชวนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน เข้าร่วมกิจกรรม โดยพารามิเตอร์
ที่วิเคราะห์ คือ อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ส่วนใน
ปีงบประมาณ 2558 พารามิเตอร์ที่วิเคราะห์คือ ความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำไฟฟ้า ซึ่งมีผู้สมัคร
เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 22 ราย จำแนกเป็นภาคราชการ มหาวิทยาลัย 16 ราย และ ภาคเอกชน 6 ราย
ผลการประเมินกิจกรรมเปรียบเทียบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน การตรวจวิเคราะห์
คุณสมบัติทางเคมีในตัวอย่างดิน โดยการหาค่ากำหนด (Assigned value) โดยใช้ค่าเฉลี่ยโรบัสต์
(Robust average, X*) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการประเมินกิจกรรมเปรียบเทียบความสามารถ
ร ะ หว่างห้องปฏิบัติการ (Standard deviation for proficiency assessment, ) ได้จากค่า
p
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโรบัสต์ (Robust standard deviation, s*) โดยค่ากำหนดและค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานของการประเมินความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการ คำนวณจากผลการทดสอบของ
ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมกิจกรรม (Consensus value from participants) โดยวิธี Algorithm A
ตาม ISO 13528 : 2005 เกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะของห้องปฏิบัติการโดยใช้ค่า Z-score โดยมีเกณฑ์
กำหนดของค่า Z-score ดังนี้ Z 2 แสดงว่า ผลการวิเคราะห์เป็นที่น่าพอใจ (Satisfactory result)
2<Z<3 แสดงว่า ผลการวิเคราะห์เป็นที่น่าสงสัย (Questionable result) Z 3 แสดงว่า ผลการ
วิเคราะห์ไม่เป็นที่น่าพอใจ (Unsatisfactory result)
ความเป็นกรด-ด่าง มีค่ากำหนดของตัวอย่างดินทดสอบ เท่ากับ 5.37 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผลการวิเคราะห์
เป็นที่น่าพอใจ ร้อยละ 91 ผลการวิเคราะห์เป็นที่น่าสงสัย ร้อยละ 9 และไม่พบผลการวิเคราะห์ไม่เป็นที่
น่าพอใจ ค่าการนำไฟฟ้า มีค่ากำหนดของตัวอย่างดินทดสอบ เท่ากับ 0.021 เดซิซีเมนต่อเมตร
มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผลการวิเคราะห์เป็นที่น่าพอใจ ร้อยละ 81 ไม่พบผลการวิเคราะห์เป็นที่น่าสงสัย
___________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1870