Page 1957 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1957

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                       2. โครงการวิจัย             การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาวิธีวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน

                                                   โดยเทคนิค NIRS
                                                   The Study of Chemicals and Physical Properties Analytical

                                                   Method in Soil by Near Infrared Spectroscopy

                                                                      1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ญาณธิชา  จิตต์สะอาด          จรีรัตน์  กุศลวิริยะวงศ์ 1/
                                                   สุภา  โพธิจันทร์             พจมาลย์  ภู่สาร 1/
                                                                 1/
                                                   จิตติรัตน์  ชูชาติ           เจนจิรา  เทเวศร์วรกุล 1/
                                                                 1/
                       5. บทคัดย่อ
                              การศึกษาวิธีวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน โดยเทคนิคสเปกโตรสโกปี

                       อินฟราเรดย่านใกล้ (Near Infrared Spectroscopy - NIRS) เนื่องจากเป็นวิธีใหม่ที่ได้รับความนิยมอยู่ใน
                       ปัจจุบัน เป็นวิธีการวัดแบบไม่ทำลายตัวอย่าง สามารถทำนายค่าทางเคมีได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ

                       ประหยัดเวลา ลดต้นทุนในการใช้สารเคมี และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ห้องปฏิบัติการจึงมีความสนใจศึกษา
                       เทคนิคใหม่นี้เพื่อนำมาพัฒนาใช้ในห้องปฏิบัติการ โดยทำการศึกษาในปีงบประมาณ 2555 - 2558

                       ณ กลุ่มงานวิจัยระบบตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำ กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิต

                       ทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โดยเตรียมตัวอย่างดินและวิเคราะห์ค่าทางเคมีในห้องปฏิบัติการ
                       หาปริมาณเนื้อดินเป็นปริมาณ Sand, Silt และ clay โดยใช้วิธีไฮโดรมิเตอร์ ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM)

                       โดยใช้วิธี Walkley and Black ปริมาณฟอสฟอรัส (P) โดยใช้วิธี Bray II และปริมาณโพแทสเซียม (K)

                       โดยใช้วิธี Flame photometric method ที่สกัดด้วย Ammonium acetate 1   N ที่ pH 7.0
                       ได้ตัวอย่างดินที่มีค่าแตกต่างกัน นำตัวอย่างไปวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องอินฟราเรดย่านใกล้

                       (Near - Infrared Spectroscopy, NIRS) ในช่วงความยาวคลื่น 800 ถึง 2500 นาโนเมตร สร้างและปรับปรุง

                       สมการคำนวณด้วยวิธี PLS calibration ได้สมการทำนาย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation
                       coefficient, R) เท่ากับ 0.83, 0.72, 0.89, 0.87, 0.63 และ 0.70 ตามลำดับ ความผิดพลาดมาตรฐาน

                       ของการจำลอง (Standard error of calibration, SEC) เท่ากับ 13.12, 9.94, 8.01, 0.59, 23.29 และ
                       0.52 ความผิดพลาดมาตรฐานของการทำนาย (Standard error of prediction, SEP) เท่ากับ 14.51,

                       9.96, 7.87, 0.60, 23.32 และ 0.49 ตามลำดับ การศึกษานี้สามารถนำเทคนิค NIR Spectroscopy

                       ไปใช้ในการประเมินค่าปริมาณเนื้อดิน (% Sand และ % Clay) และอินทรียวัตถุ (OM) ได้ในระดับการ
                       ทำนายเพื่อการแบ่งระดับปริมาณหรือประมาณค่าเบื้องต้น (Screening) ปริมาณเนื้อดิน (% Silt)

                       ได้ในระดับการทำนายเพื่อการแบ่งปริมาณอย่างหยาบ (Rough Screening) โดยไม่ต้องทำลายตัวอย่าง


                       ___________________________________________

                       1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


                                                          1890
   1952   1953   1954   1955   1956   1957   1958   1959   1960   1961   1962