Page 2030 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2030
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. โครงการวิจัย การพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบพืช GMOs เพื่อรับรองสินค้าเกษตร
3. ชื่อการทดลอง วิจัยและพัฒนาความใช้ได้ของวิธีการทดสอบการตรวจวิเคราะห์
ถั่วเหลืองและข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ชนันต์ธร ดนัยสิริชัยชล ขนิษฐา วงศ์วัฒนารัตน์ 2/
อรรคพล ภูมีศรี ประเสริฐ วงศ์วัฒนารัตน์ 3/
1/
5. บทคัดย่อ
การทดสอบความใช้ได้ของวิธีการตรวจวิเคราะห์ถั่วเหลืองและข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรมทั้ง 10
สายพันธุ์ ประกอบด้วย ถั่วเหลือง GTS 40-3-2 1 สายพันธุ์ ข้าวโพด 9 สายพันธุ์ ได้แก่ Mon 810,
Bt176, Bt11, Mon863, NK603, GA21, TC1507, CBH351 และ T25 โดยทำการทดสอบกับชุดไพร์เมอร์
และโพรบที่ออกแบบมา ให้มีความจำเพาะเจาะจงกับ Gene-specific และ Event-specific ด้วยการติด
ฉลากที่ปลาย 5’ ด้วย FAM และ ปลาย 3’ ด้วย TAMRA โดยทดสอบกับเครื่อง LightCycler480
และพิจารณาความใช้ได้ของวิธีการจากการหาค่า R , Slop, และ PCR efficiency ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึง
2
ความสัมพันธ์ของการตรวจวิเคราะห์ระหว่างรอบของการทำ Real - time PCR ที่สามารถตรวจวัดแสง
ฟลูออเรสเซนต์ได้ กับค่าของจำนวน copy number ที่ตรวจวิเคราะห์ได้จากการทดสอบ จากผลการ
ทดสอบพบว่าการตรวจวิเคราะห์เชิงปริมาณในตัวอย่างพืชดัดแปรพันธุกรรมทั้ง 10 ชนิดมีค่าของ R
2
อยู่ที่ 1 ซึ่งตามเกณฑ์การยอมรับได้จะต้องมีค่าอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 0.98 รวมถึงมีค่า slop อยู่ในเกณฑ์การ
ยอมรับด้วย เมื่อพิจารณาความถูกต้องแม่นยำของการตรวจวิเคราะห์ พบว่า การตรวจวิเคราะห์จะมี
ความถูกต้องแม่นยำที่สูง เมื่อทำการทดสอบที่ระดับการปนเปื้อน มากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อทำการ
ทดสอบที่ระดับต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ค่าความถูกต้องแม่นยำจะน้อยลง แต่ยังคงสามารถทำการ
ตรวจวิเคราะห์ได้ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาที่ค่าเบี่ยงเบนของการวัด พบว่าการตรวจวิเคราะห์พืชดัดแปรพันธุกรรม
ทั้ง 10 สายพันธุ์ อยู่ในเกณฑ์การยอมรับ คือน้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ และมีค่า LOD และ LOQ ของการ
ตรวจวิเคราะห์อยู่ระหว่าง 0.05 - 0.5 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดสอบนี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่าวิธีการ
ตรวจวิเคราะห์แบบ gene - specific และ event specific ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการสามารถนำมาใช้
เพื่อตรวจวิเคราะห์ถั่วเหลือง และข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรมในเชิงปริมาณได้
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2/ สำนักผู้เชี่ยวชาญ
3/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1963