Page 2025 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2025
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. โครงการวิจัย การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาพันธุ์พืช จุลินทรีย์ และผลิตภัณฑ์
3. ชื่อการทดลอง การจัดทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอและการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลในการ
ตรวจเอกลักษณ์ของกล้วยไม้รองเท้านารีในประเทศไทย
DNA Fingerprinting and Molecular Markers for Paphiopedilum
sp. in Thailand
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน อรุโณทัย ซาววา ศิริลักษ์ อินทะวงศ์ 1/
1/
นุกูล อ่อนนิ่ม บุญเรือนรัตน์ แก้ววิเศษ 1/
ประสาน สืบสุข 1/
5. บทคัดย่อ
กล้วยไม้รองเท้านารีมีจำนวนประชากรในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว จัดเป็นพืชที่มีสถานภาพ
ที่ใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดของโลก ความรู้พื้นฐานทางพันธุกรรมและเครื่องหมายโมเลกุลในแต่ละสายพันธุ์
มีความจำเป็นมากในการบ่งชี้สายพันธุ์และความหลากหลาย งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการใช้เครื่องหมาย
โมเลกุลและจัดทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ของกล้วยไม้รองเท้านารีที่เก็บรวบรวมไว้ โดยการประยุกต์ใช้
เครื่องหมายโมเลกุล SSR ที่พัฒนาจากกล้วยไม้สกุลแวนด้ากับกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ศึกษาไพรเมอร์ทั้งหมดจำนวน 101 คู่สาย กับกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี 25 ตัวอย่าง จาก 12 สายพันธุ์
พบว่ามี 61 คู่สายไพรเมอร์ ที่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ และคัดเลือกจำนวน 10 คู่
ที่ให้ลักษณะแถบดีเอ็นเอต่าง การจัดทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิค ไอเอสเอสอาร์ จำนวน 16 เส้น พบว่า
ให้แถบดีเอ็นเออยู่ในช่วง 250 - 1200 เบส แบ่งกลุ่มความสัมพันธ์ได้ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ รองเท้านารี
ขาวพังงา รองเท้านารีขาวสตูล รองเท้านารีเหลืองตรัง รองเท้านารีเกรยี่ รองเท้านารีเหลืองปราจีน
และรองเท้านารีฝาหอย กลุ่มที่ 2 ได้แก่ รองเท้านารีเหลืองกระบี่ ภูเก็ตอมตะ ภรณเรศ เง็กเซียน กฤษโกศล
สะพานหิน 53 ดลวิสิทธิ สุนทรีย์ ชำนาญสินธิ์ ไตรมาศ และไม้ป่าเกาะพนัก การทำดีเอ็นบาร์โค๊ดของ
กล้วยไม้ด้วยยีน matK ในกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี 13 ตัวอย่าง ได้ผลผลิตพีซีอาร์ประมาณ 945 เบส
แบ่งกลุ่มความสัมพันธ์ได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ รองเท้านารีขาวพังงา รองเท้านารีขาวสตูล รองเท้า
นารีเหลืองปราจีน รองเท้านารีเกรยี่ และรองเท้านารีฝาหอย กลุ่มที่ 2 ได้แก่ รองเท้านารีเหลืองกระบี่
และไม้ป่าเกาะพนัก เมื่อนำลำดับนิวคลีโอไทด์ไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล BLAST พบว่า มีค่าเปอร์เซ็นต์
Identity อยู่ระหว่าง 98 - 99 เปอร์เซ็นต์ พบมีความเหมือนกับ P. niveum P. appletonianum
P. bullenianum และ P. glaucophyllum ดังนั้นยีน matK ของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีในประเทศไทย
จะถูกนำไปลงในฐานข้อมูล BLAST ต่อไป
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
1958