Page 213 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 213

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำ และปุ๋ยอ้อย

                       3. ชื่อการทดลอง             การตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินทราย :
                                                   ชุดดินน้ำพอง จังหวัดนครสวรรค์

                                                   Response of Sugarcane to Plant Nutrients Management in

                                                   Sandy Soils : Nam Phong Soil Series at Nakhon Sawan Province
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ศุภกาญจน์  ล้วนมณี           กอบเกียรติ  ไพศาลเจริญ 2/
                                                                    1/
                                                   วัลลีย์  อมรพล               ศรีสุดา  ทิพยรักษ์ 4/
                                                                3/
                                                   ชยันต์  ภักดีไทย             ดาวรุ่ง  คงเทียน 1/
                                                                 4/
                       5. บทคัดย่อ

                              ศึกษาการตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินทรายชุดดินน้ำพอง เพื่อใช้เป็น
                       แนวทางให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในแปลงทดลองศูนย์วิจัย

                       และพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ วางแผนแบบ Split-split-plot มี
                       3 ซ้ำ ปัจจัยหลักเป็นวิธีการปรับปรุงดิน ได้แก่ ไม่ปรับปรุงดิน และปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ อัตรา 100

                       กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับกากตะกอนหม้อกรองอ้อยอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่โดยน้ำหนักแห้ง ปัจจัยรอง

                       เป็นพันธุ์อ้อย 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น 3 และพันธุ์ LK 92-11 ปัจจัยย่อยเป็นระดับปริมาณ
                       ธาตุอาหารจากปุ๋ย ได้แก่ 0-9-12  9-9-12  18-9-12 และ 27-9-12 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่

                              ผลการทดลองพบว่า การปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ร่วมกับปุ๋ยหมักกากตะกอนหม้อกรองอ้อยให้

                       ผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอ 13,055 และ 6,195 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าวิธีที่ไม่ปรับปรุงดินเฉลี่ย 20.3
                       เปอร์เซ็นต์สำหรับอ้อยปลูก และ 52.5 เปอร์เซ็นต์สำหรับอ้อยตอ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์

                       พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอ 13,658 และ 5,487 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่า
                       พันธุ์ LK 92-11 เฉลี่ย 33.2 เปอร์เซ็นต์สำหรับอ้อยปลูก และ 14.6 เปอร์เซ็นต์สำหรับอ้อยตอ ตามลำดับ

                       นอกจากนี้พบว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนมากกว่าพันธุ์ LK92-11 ทั้งในอ้อยปลูก

                       และอ้อยตอ โดยประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของอ้อยทั้งสองพันธุ์เพิ่มขึ้นเมื่อปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์
                       ร่วมกับปุ๋ยหมักกากตะกอนหม้อกรองอ้อย







                       __________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
                       2/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

                       3/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง
                        ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
                       4/
                                                           146
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218