Page 217 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 217

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำ และปุ๋ยอ้อย

                       3. ชื่อการทดลอง             การตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินทราย : ชุดดิน
                                                   สัตหีบ และชุดดินบ้านบึง

                                                   Response of Sugarcane to Nutrient Management in Sandy

                                                   Soil : Sattahip Soil Series and Ban Bueng Soil Series
                                                                1/
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           วัลลีย์  อมรพล        ศุภกาญจน์  ล้วนมณี 2/
                                                                  3/
                                                   ศรีสุดา  ทิพยรักษ์    กอบเกียรติ  ไพศาลเจริญ 4/
                                                   รุ่งรวี  บุญทั่ง 1/

                       5. บทคัดย่อ

                              การตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในดินทราย ชุดดินสัตหีบ และชุดดินบ้านบึง
                       เพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำด้านการใช้ปุ๋ยกับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำการทดลอง

                       ในดินทราย ชุดดินสัตหีบ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง วางแผนการทดลองแบบ split-split plot 3 ซ้ำ16
                       กรรมวิธี ปัจจัยที่ 1 (Main-plot) คือ เป็นการปรับปรุงดิน ประกอบด้วย 2 วิธีการ ได้แก่ 1) ไม่ปรับปรุงดิน

                       2) ใช้โดโลไมท์ 100 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับกากตะกอนหม้อกรองอ้อย 1 ตันต่อไร่ ปัจจัยที่ 2 (Subplot)

                       คือ พันธุ์อ้อย 2 พันธุ์ ได้แก่ 1) พันธุ์ LK 92-11 2) พันธุ์ขอนแก่น 3 และปัจจัยที่ 3 (Sub-sub plot) คือ
                       การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน 4 ระดับ ได้แก่ 1) 0-6-18  2) 9-6-18  3) 18-6-18 และ 4) 27-6-18

                       กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ส่วนในชุดดินบ้านบึง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง วางแผนการทดลอง

                       เช่นเดียวกับชุดดินสัตหีบ แต่ลดปริมาณปุ๋ย P 2O 5 จาก 6 กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่เป็น 3 กิโลกรัมP 2O 5 ต่อไร่
                              ผลการทดลองในชุดดินสัตหีบ พบว่า การปรับปรุงดิน การใช้พันธุ์ และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ให้

                       ผลผลิตอ้อยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย
                       14.11 ตันต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ LK92-11 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 12.13 ตันต่อไร่ ส่วนการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมีผล

                       ต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อยปลูกอย่างชัดเจน คือ อ้อยมีการแตกกอให้จำนวนลำต่อไร่ ความสูงของลำ และ

                       ผลผลิตสูงสุดที่ระดับปุ๋ยไนโตรเจน 27 กิโลกรัม N ต่อไร่ และเมื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน
                       การปลูกอ้อยพันธุ์ LK 92-11 โดยไม่ปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ระดับ 9 กิโลกรัม N ต่อไร่ และ

                       พันธุ์ขอนแก่น 3 ใส่ที่ระดับ 27 กิโลกรัม N ต่อไร่ ขณะเมื่อมีการปรับปรุงดิน การปลูกอ้อยทั้ง 2 พันธุ์
                       ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ระดับ 9 กิโลกรัม N ต่อไร่ และอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน

                       เพื่อสร้างผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ LK 92-11


                       __________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง
                       2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

                       3/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
                        สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
                       4/
                                                           150
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222