Page 222 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 222
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำ และปุ๋ยอ้อย
3. ชื่อการทดลอง การตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินด่าง : ชุดดิน
ตาคลี/ชุดดินสมอทอด
Response of Sugarcane to Nutrient Management on
Calcareous Soil : Takhli Soil Series and Samo Thod Soil Series
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน สมฤทัย ตันเจริญ ดาวรุ่ง คงเทียน 2/
กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ ศุภกาญจน์ ล้วนมณี 2/
3/
อนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์ 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาการตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินด่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลการ
ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของอ้อยที่ปลูกบนดินด่าง โดยเลือกตัวแทนชุดดินตาคลีและชุดดินสมอทอด
ปี 2554 - 2558 สำหรับนำไปใช้ในการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเฉพาะพื้นที่กับอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ
สูงสุด ปี 2554 - 2556 ศึกษาการตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินด่าง ชุดดินตาคลี
ดำเนินการที่ไร่เกษตรกร อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ พิกัด 47P 653207 1686978 วางแผน
N
E
การทดลองแบบ Split-split plot 3 ซ้ำ ปัจจัยหลัก คือ การปรับปรุงดิน ได้แก่ 1) ไม่ปรับปรุงดิน
2) ปรับปรุงดินด้วยกำมะถันผงอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจัยรอง คือ พันธุ์อ้อย 2 พันธุ์ ได้แก่ 1) อ้อย
พันธุ์ 94-2-106 2) อ้อยพันธุ์ LK 92-11 และปัจจัยย่อย คือ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 4 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่ใส่
ปุ๋ยไนโตรเจน 2) ใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าไนโตรเจนของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน 3) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตามค่า
วิเคราะห์ดิน 4) ใส่ปุ๋ย 1.5 เท่าไนโตรเจนของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและ
ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 6 กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่ และ 6 และ K 2O ต่อไร่
ปี 2556 - 2558 ศึกษาการตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินด่าง ชุดดินสมอทอด
E
ดำเนินการที่ไร่เกษตรกร ตำบลโพธิ์ประสาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พิกัด 47P 670405
N
1704801 โดยวางแผนการทดลองแบบ Split-split plot 3 ซ้ำ ปัจจัยหลัก คือ การปรับปรุงดิน ได้แก่
1) ไม่ปรับปรุงดิน 2) ปรับปรุงดินด้วยกำมะถันผงอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจัยรอง คือ พันธุ์อ้อย 2 พันธุ์
ได้แก่ 1) อ้อยพันธุ์ 94-2-106 2) อ้อยพันธุ์ LK 92-11 และปัจจัยย่อย คือ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 4 ระดับ
ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 2) ใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าไนโตรเจนของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน 3) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน
ตามค่าวิเคราะห์ดิน 4) ใส่ปุ๋ย 1.5 เท่าไนโตรเจนของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส
และปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 3 กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่ และ 6 และ K 2O ต่อไร่
__________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
3/ สำนักผู้เชี่ยวชาญ
155