Page 224 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 224
การปลูกอ้อยพันธุ์ 94-2-106 โดยไม่มีการปรับปรุงดินด้วยกำมะถันผง ควรใส่ปุ๋ย 6-3-6 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O
ต่อไร่ ส่วนอ้อยพันธุ์ LK 92-11 ควรใส่ปุ๋ย 3-3-6 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และถ้ามีการปรับปรุงดิน
ด้วยกำมะถันผง การปลูกอ้อยพันธุ์ 94-2-106 และอ้อยพันธุ์ LK 92-11 ควรใส่ปุ๋ย 3-3-6 กิโลกรัม
N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ จึงจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน สำหรับในอ้อยตอ 1 ฤดูปลูก 2557/2558
เมื่อไม่มีการปรับปรุงดินจะให้ผลผลิตเพียง 16.5 ตันต่อไร่ แต่เมื่อทำการปรับปรุงดินด้วยกำมะถันผงทำให้
ได้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นเป็น 16.7 ตันต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น 1.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบ
ศักยภาพของพันธุ์อ้อย พบว่า อ้อยพันธุ์ LK 92-11 มีศักยภาพในการให้ผลผลิตในดินด่างชุดดินสมอทอด
สูงกว่า และมีกำไรสุทธิมากกว่าอ้อยพันธุ์ 94-2-106 โดยอ้อยพันธุ์ 94-2-106 ให้ผลผลิต 16.2 ตันต่อไร่
ขณะที่อ้อยพันธุ์ LK 92-11 ให้ผลผลิต 16.9 ตันต่อ เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่า
การปลูกอ้อยพันธุ์ 94-2-106 และอ้อยพันธุ์ LK92-11 โดยไม่มีการปรับปรุงดินด้วยกำมะถันผง ควรใส่ปุ๋ย
9-3-6 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และถ้ามีการปรับปรุงดินด้วยกำมะถันผง การปลูกอ้อยพันธุ์ 94-2-106
ควรใส่ปุ๋ย 3-3-6 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และอ้อยพันธุ์ LK 92-11 ควรใส่ปุ๋ย 6-3-6 กิโลกรัม
N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ จึงจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
การตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในดินด่างชุดดินตาคลีและชุดดินสมอทอดที่ได้
จากการทดลองนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับอ้อยในกลุ่มดินด่างได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการประเมินปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้กับอ้อยเพื่อเพิ่มความสามารถในการ
ให้ผลผลิตพืช และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นแนวทางในการนำไป
ขยายผลหรือประยุกต์ใช้กับกลุ่มดินอื่นหรือชุดดินอื่น เพื่อให้ได้ข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสม
เฉพาะพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักวิชาการเกษตรสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนางานวิจัยด้านดินและปุ๋ย
และสามารถให้คำแนะนำการจัดการธาตุอาหารในดินและการใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
สำหรับเกษตรกรได้
157