Page 229 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 229
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำ และปุ๋ยอ้อย
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต
และการลดต้นทุนการผลิตอ้อย
Study on Effectiveness of Plant Growth Promoting Rhizobacteria
on Growth, Yield and the Decreasing of Fertilizer Cost of
Sugar Cane Production
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง สุชาติ ค่ำอ่อน 2/
2/
ธนวัตน์ เสนเผือก สุรีรัตน์ โตสิรภัทร 2/
กัลยกร โปร่งจันทึก ประไพ ทองระอา 1/
1/
1/
สรัตนา เสนาะ อุชฎา สุขจันทร์ 3/
4/
ศรีสุดา ทิพย์รักษ์ กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ 4/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ต่อการลดต้นทุนและปริมาณผลผลิตอ้อยปลูก
เพื่อศึกษาศักยภาพของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ในการลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในการผลิตอ้อย โดยวางแผน
การทดลองแบบ Split plot in RCB มี 4 ซ้ำ Main plot เปรียบเทียบการใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ 2 แบบ
คือ ไม่ใส่ และใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์อัตรา 1,000 กรัมต่อไร่ Sub plot เปรียบเทียบการใส่ปุ๋ยเคมี 5 อัตรา
ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ไม่ทำให้ความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางลำ และน้ำหนักใบและ
ยอด มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ช่วยเพิ่มจำนวนลำต่อกอ ผลผลิตอ้อย และ
ผลผลิตน้ำตาล ผลการทดลองทำให้ได้ข้อมูลผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูก
อ้อย โดยปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์สามารถลดปุ๋ยเคมีไนโตรเจนได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือลดปุ๋ยเคมี
ไนโตรเจน ฟอสเฟต และโพแทช 25 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยมีอัตราส่วน
ระหว่างรายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ 2.87 และ 3.02 ตามลำดับ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ผลงานนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์อ้อยใช้ในการ
ผลิตอ้อย พร้อมวิธีการใช้ที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรที่ปลูกอ้อย โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ให้ธาตุ
อาหารพืชเพิ่มเติมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์เกษตรกรต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในปริมาณ
ที่เหมาะสม ก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีรายได้สูงที่สุด
__________________________________________
1/ กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด
3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
4/
162