Page 233 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 233

ไม่แตกต่างกันทางสถิติ จังหวัดนครราชสีมา ผลผลิตของอ้อยในแปลงทดลองจังหวัดนครราชสีมา ผลผลิต
                       อ้อยในแปลงให้น้ำและแปลงที่ไม่ให้น้ำไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แปลงให้น้ำตำรับที่ใส่ปุ๋ยตาม

                       ค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตสูงสุด และตำรับไม่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตต่ำสุด ส่วนแปลงที่ไม่ให้น้ำไม่มีความแตกต่างกัน

                       ทางสถิติของผลผลิตอ้อยระหว่างตำรับการทดลอง โดยที่ตำรับที่ใส่ปุ๋ย 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดินให้
                       ผลผลิตสูงสุด และตำรับที่ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับโดโลไมท์ให้ผลผลิตต่ำสุด เส้นผ่านศูนย์กลางลำ

                       ตำรับที่ให้น้ำมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นมากกว่าตำรับที่ไม่ให้น้ำ โดยในตำรับที่ให้น้ำตำรับที่ใส่ปุ๋ย 1.5 เท่า

                       ของค่าวิเคราะห์ดินมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำมากที่สุด ซึ่งแตกต่างทางสถิติกับตำรับการทดลองอื่นๆ และ
                       ตำรับที่ใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดินมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำน้อยที่สุด ส่วนตำรับที่ไม่ให้น้ำ ตำรับที่ใส่

                       ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับโดโลไมท์มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำมากที่สุดซึ่งแตกต่างทางสถิติกับตำรับที่ใส่
                       ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพียงตำรับเดียวซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำน้อยที่สุด โดยที่ความสูง และ Brix ของ

                       อ้อยไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบอ้อย พบว่า การให้น้ำมีผลทำให้ปริมาณไนโตเจน

                       ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในใบต่ำกว่าตำรับที่ไม่ให้น้ำ ส่วนผลวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบลำอ้อย พบว่า
                       การให้น้ำมีผลทำให้ปริมาณไนโตเจน และฟอสฟอรัส ในลำอ้อยเฉลี่ยสูงกว่าตำรับที่ไม่ให้น้ำ โดยที่ปริมาณ

                       โพแทสเซียมในลำอ้อยตำรับที่ให้น้ำมีปริมาณเฉลี่ยต่ำกว่าตำรับที่ไม่ให้น้ำ แปลงทดลองจังหวัด
                       นครราชสีมา ผลวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบอ้อย พบว่าปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ

                       โพแทสเซียมตำรับทีให้น้ำจะมีปริมาณธาตุอาหารทั้งสามชนิดเฉลี่ยต่ำกว่าตำรับที่ไม่ให้น้ำในแปลงทดลอง

                       ที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ปรับลดการให้น้ำลงจาก 50% AWC เป็น 37.5% AWC โดยที่
                       แปลงทดลองในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดกาฬสินธุ์น้ำหนักอ้อยทั้งการให้น้ำและตำรับปุ๋ยไม่มีความ

                       แตกต่างทางสถิติ ส่วนตำรับการทดลองที่ให้ปุ๋ยต่างๆ ซึ่งไม่ให้น้ำมีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยที่ปริมาณ

                       ธาตุอาหารในใบสด ใบแห้ง และในลำของอ้อย การให้น้ำมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                       โพแทสเซียมในใบสดของอ้อยไม่แตกต่างทางสถิติจากตำรับที่ไม่ให้น้ำ

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              พัฒนาต่อ

































                                                           166
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238