Page 225 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 225

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำ และปุ๋ยอ้อย

                       3. ชื่อการทดลอง             การตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินด่าง : ชุดดิน
                                                   คล้ายดินสมอทอด

                                                   Plant  Nutrients  Management  for  Sugarcane  Grown  on

                                                   Calcareous Soil : Smatat Similar Soil Series.
                                                                 1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ดาวรุ่ง  คงเทียน             ศุภกาญจน์  ล้วนมณี 1/
                                                                        2/
                                                   กอบเกียรติ  ไพศาลเจริญ       สมฤทัย  ตันเจริญ 3/
                       5. บทคัดย่อ

                              ศึกษาการตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินด่าง ชุดดินคล้ายดินสมอทอด

                       เพื่อให้ได้ข้อมูลการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของอ้อยที่ปลูกบนดินด่าง ชุดดินคล้ายดินสมอทอด สำหรับ
                       นำไปใช้ในการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเฉพาะพื้นที่กับอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในไร่

                       เกษตรกร อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ วางแผนการทดลองแบบ Split-split plot จำนวน 3 ซ้ำ
                       ปัจจัยหลัก ได้แก่ ไม่ปรับปรุงดิน และปรับปรุงดินด้วยผงกำมะถันอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจัยรอง

                       ได้แก่ อ้อยโคลน 94-2-106 และอ้อยพันธุ์ LK92-11 ปัจจัยย่อยเป็นระดับปุ๋ยเคมี ได้แก่ 1) 0-6-6 2) 3-6-6

                       3) 6-6-6 และ 4) 9-6-6 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า พันธุ์อ้อยให้ผลผลิตอ้อยปลูก
                       แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ การปลูกอ้อยในดินด่างชุดดินคล้ายดินสมอทอด โดยไม่ปรับปรุงดิน

                       และปรับปรุงดินด้วยผงกำมะถันให้ผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ไม่ปรับปรุงดิน

                       ด้วยผงกำมะถันให้ผลผลิต 8.4 และ 6.31 ตันต่อไร่ ในอ้อยปลูกและอ้อยตอ แต่เมื่อทำการปรับปรุงดิน
                       ด้วยผงกำมะถันทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นเป็น 8.6 ตันต่อไร่ ในอ้อยปลูก และ 6.53 ตันต่อไร่ ในอ้อยตอ

                       และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพันธุ์พบว่า อ้อยโคลน 94-2-106 อ้อยปลูกมีศักยภาพในการ
                       ให้ผลผลิตในดินด่างชุดดินคล้ายดินสมอทอด สูงกว่าอ้อยพันธุ์ LK 92-11 โดยอ้อยโคลน 94-2-106

                       ให้ผลผลิต 10.1 ตันต่อไร่ ในขณะที่อ้อยพันธุ์ LK 92-11 ให้ผลผลิต 7.0 ตันต่อไร่ ในอ้อยตอ อ้อยพันธุ์

                       LK 92-11 ให้ผลผลิต 6.45 ตันต่อไร่ สูงกว่าอ้อยโคลน 94-2-106 ให้ผลผลิต 6.15 ตันต่อไร่ การใช้ปุ๋ย
                       ไนโตรเจนเมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์โดยในอ้อยปลูกและอ้อยตอ อ้อยโคลน 94-2-106

                       และอ้อยพันธุ์ LK 92-11 ที่ไม่ปรับปรุงดินและปรับปรุงดินด้วยผงกำมะถันควรใส่ปุ๋ยเคมี 3-6-6 กิโลกรัม
                       N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ซึ่งให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน






                       __________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
                       2/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
                       3/ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                                                           158
   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230