Page 2178 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2178

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          -

                       2. โครงการวิจัย             การศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช
                       3. ชื่อการทดลอง             ผลของระยะเวลาในการลดความชื้นของเมล็ด ด้วยห้องลดความชื้นที่มี

                                                   ต่อความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์สำหรับการอนุรักษ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          อัสนี  ส่งเสริม              พิทยา  วงษ์ช้าง 1/
                                                               1/
                                                   พัชร  ปิริยะวินิตร           ชลลดา  สามพันพวง 1/
                                                                  1/
                       5. บทคัดย่อ
                              ในการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์นั้น ความชื้นภายในเมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เมล็ดพันธุ์

                       สูญเสียความมีชีวิตอย่างรวดเร็วเมื่อนำมาเก็บรักษา โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวใหม่ซึ่งมีระดับ

                       ความชื้นสูง ด้วยเหตุนี้ การลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายดังกล่าว จึงเป็นขั้นตอน
                       ที่สำคัญยิ่งของงานอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช การใช้ห้องลดความชื้นอุณหภูมิต่ำเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถ

                       ลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดความเสียหายของเมล็ดพันธุ์จากความ

                       ร้อนได้ สำหรับห้องลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เป็นห้องลดความชื้น
                       อุณหภูมิต่ำ ซึ่งมีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล

                       ระยะเวลาในการลดความชื้นเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด การทดลองนี้จึงดำเนินการเพื่อศึกษาผลของระยะเวลา
                       ในการลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์พืชด้วยห้องลดความชื้นต่อความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่างๆ

                       โดยดำเนินการทดลองลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว พริก กระเจี๊ยบแดง มะเขือ ข้าวโพด ทานตะวัน

                       ข้าวสาลี ข้าว ถั่วมะแฮะ ถั่วพุ่ม ฝ้าย เดือย ปอคิวบา ปอกระเจา ผักกวางตุ้ง และข้าวบาร์เล่ย์
                       วางแผนการทดลองแบบ RCB (Randomized Complete Block) จำนวน 4 ซ้ำ สิ่งทดลอง เป็นระยะเวลา

                       ในการลดความชื้น ตั้งแต่ 0-30 วัน ดำเนินการทดสอบหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นและเปอร์เซ็นต์ความงอก
                       ของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดจนครบ กำหนดผลการทดลอง สำหรับเปอร์เซ็นต์ความชื้นเมล็ดพันธุ์ พบว่า

                       เมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วภายในสัปดาห์

                       ที่ 1 จากนั้น จะค่อยๆ ลดลงจนเกือบคงที่ ซึ่งได้แก่ ถั่วเขียว กระเจี๊ยบแดง ข้าวโพด ข้าวสาลี ทานตะวัน
                       ข้าว ถั่วพุ่ม ฝ้าย เดือย ปอคิวบา ปอกระเจา ผักกวางตุ้งและข้าวบาร์เล่ย์ เมล็ดพันธุ์ที่มีแนวโน้มการ

                       เปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ได้แก่ ถั่วมะแฮะ สำหรับ

                       เปอร์เซ็นต์ความงอกเมล็ดพันธุ์ พบว่า เมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกคงที่ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี
                       ทานตะวัน ข้าวบาร์เล่ย์ และผักกวางตุ้ง เมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกค่อนข้างคงที่ ได้แก่ ถั่วเขียว

                       กระเจี๊ยบแดง เดือย ปอคิวบา และปอกระเจา เมล็ดพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์ความงอกมีแนวโน้มลดลง ได้แก่




                       __________________________________________
                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ



                                                           2111
   2173   2174   2175   2176   2177   2178   2179   2180   2181   2182   2183