Page 2181 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2181

โดยสุ่มมาทดสอบแต่ละครั้งสำหรับการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งโดยวิธี vitrification
                       ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง ทดลองที่ห้องปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก

                       พระราชดำริฯ สำหรับผลการทดสอบเมล็ดพันธุ์พริกทั้ง 8 พันธุ์ที่เก็บรักษาไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช


                       กรมวิชาการเกษตร ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส, 25 องศาเซลเซียส และ -10 องศาเซลเซียส นั้นพบว่า

                       เปอร์เซ็นต์ความงอกและความแข็งแรงด้วยวิธีต่างๆ ทั้ง 5 วิธีนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมี
                       นัยสำคัญยิ่ง แม้เวลาผ่านไป พริกทั้ง 8 พันธุ์เปอร์เซ็นต์ความงอกส่วนใหญ่มีค่าลดลง พบว่าพริกมันดำ

                       มีความงอกดีมากแม้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส สำหรับพันธุ์พริก พจ.01, พจ.05 และ พจ.07 พบว่า

                       เปอร์เซ็นต์ความงอกมีเปอร์เซ็นต์ความงอกแรกเริ่มสูงทั้ง 3 พันธุ์ ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

                       แต่สำหรับอุณหภูมิ 5องศาเซลเซียส พบว่าพริก พจ.07 เปอร์เซ็นต์ความงอกแรกเริ่มไม่สูงนัก (51 - 70%)
                       พันธุ์ พจ.01 และ พจ.05 เมื่อเวลาผ่านไปยังมีความงอกที่ดีอยู่ (66 - 84%, 68 - 90% ตามลำดับ) และ


                       อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส เมื่อเวลาผ่านไป พจ.01 และ พจ.05 มีความงอกที่ดีอยู่ในช่วง 35 - 93%
                       ส่วน พจ.07 อยู่ในช่วง 51-77% และพบว่าพริกห้วยสีทนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกตั้งแต่แรกเริ่มน้อยกว่า

                       พันธุ์อื่น และค่าความแข็งแรง พบว่าทุกพันธุ์เมื่อทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี EC ให้ค่ามากกว่าวิธีอื่นๆ


                       ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ยกเว้นพันธุ์พิจิตร 05 ทดสอบด้วยวิธี CD มีค่ามากกว่าพันธุ์อื่นๆ สำหรับ

                       อุณหภูมิเก็บรักษาที่ 5 องศาเซลเซียส พบว่าวิธีทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี AAT มีค่าความแข็งแรง
                       มากกว่าวิธีอื่นๆ สำหรับพันธุ์หัวเรือเบอร์ 13 และพันธุ์เบิร์ดชิลลี่ เมื่อเวลาผ่านไป ทดสอบด้วยวิธี EC

                       มีค่าความแข็งแรงมากที่สุด กล่าวโดยสรุปเมื่อเปรียบเทียบพบว่า เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพริกที่อุณหภูมิ
                       5องศาเซลเซียส, 25องศาเซลเซียส และ -10องศาเซลเซียส พบว่าส่วนใหญ่ วิธี EC และวิธี CD เมื่อเวลา



                       ผ่านไปให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง และเมื่อทดสอบความแข็งแรงเป็นไปในทำนองเดียวกันคือ เมื่อเวลา

                       ผ่านไป วิธีทดสอบ EC (ที่ 25 องศาเซลเซียส) ให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงในทุกพันธุ์ ยกเว้น พจ.05
                       วิธี CD ให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมากที่สุด สำหรับ 5 องศาเซลเซียส วิธี EC และ AAT ให้ค่าความ

                       แข็งแรงสูงที่สุด อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส วิธี EC และ CD ให้ค่าความแข็งแรงสูงที่สุด สำหรับการ

                       ทดสอบการนำไฟฟ้า เมื่อเวลาผ่านไปพบว่าพริกมันดำมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำสุดในทุกอุณหภูมิ สำหรับวิธีการ

                       เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พริกในสภาพเยือกแข็ง โดยวิธี vitrification โดยบรรจุเมล็ดพริกใน cryotube แช่ใน
                       loading solution เป็นเวลา 20 นาที แล้วนำไปแช่สาร cryoprotectant นำไป prefreezing ที่อุณหภูมิ

                       0 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว ทำการทดสอบการรอดชีวิต

                       ภายหลังการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว พบว่าเมล็ดพริก 8 ตัวอย่างที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อ มาทดสอบ
                       หาช่วงเวลาในการแช่สาร loading solution เป็นเวลา 0, 10, 20 นาที เพื่อดึงน้ำภายในเซลล์ แล้วจึง

                       นำไปแช่สารละลาย PVS2 เป็นเวลา 30 และ 60 นาที พบว่าเมล็ดพริกที่ไม่ผ่านการแช่ไนโตรเจนเหลว

                       มีอัตราการรอดชีวิตเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกการทดลอง และนำไปเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว
                       พบว่าเมล็ดพริกสามารถรอดชีวิตภายหลังการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวได้ และสามารถนำออกไปปลูก

                       ภายนอกได้ การเก็บรักษาพันธุกรรมในสภาพเยือกแข็งเป็นทางเลือกหนึ่งในการเก็บรักษาเมล็ดพริก








                                                           2114
   2176   2177   2178   2179   2180   2181   2182   2183   2184   2185   2186