Page 2247 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2247

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          -

                       2. โครงการวิจัย             การแก้ปัญหาโคนเน่าและหัวมันเน่า อาการพุ่มแจ้ ของมันสำปะหลัง
                                                   และการป้องกันกำจัด

                       3. ชื่อการทดลอง             ทดสอบประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์ในการป้องกันอาการโคนเน่า
                                                   และหัวมันเน่าของมันสำปะหลัง

                                                    The Efficacy of Biofungicide for Controlling Root Rot Symptoms

                                                   and Tuber Rot of Cassava
                                                                1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          สุรีย์พร  บัวอาจ             บุษราคัม  อุดมศักดิ์ 1/
                                                   สุณีรัตน์  สีมะเดื่อ         พรพิมล  อธิปัญญาคม 1/
                                                                  1/
                       5. บทคัดย่อ
                              การทดสอบประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา จาก

                       กรมส่งเสริมการเกษตร, หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา, เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเม็ด, เชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดน้ำ

                       และชีวภัณฑ์บาซิลลัส เบอร์ 3 ซึ่งได้จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อป้องกันอาการโรคเน่าและหัวเน่า
                       ของมันสำปะหลังในสภาพโรงเรือน ต่อเชื้อรา Phytophthora spp. ในสภาพโรงเรือนทดลอง กลุ่มวิจัยโรคพืช

                       สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โดยใช้ชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ปฏิปักษ์และเชื้อสาเหตุโรคลงไปในดินก่อนปลูก
                       โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 9 กรรมวิธีๆ ละ 6 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ใส่เฉพาะเชื้อรา

                       Phytophthora spp. เพียงอย่างเดียว ผลการทดลอง พบว่า ทุกกรรมวิธีไม่สามารถควบคุมโคนเน่า - หัวเน่า

                       ในมันสำปะหลังได้ เนื่องจากพบอาการโคนเน่าที่โคนต้นของมันสำปะหลัง กรรมวิธีที่ใส่เฉพาะเชื้อรา
                       Phytophthora spp. เพียงอย่างเดียว แสดงอาการเน่าตรงโคนต้น เมื่อมันสำปะหลังอายุ 30 วัน

                       ส่วนกรรมวิธีใส่หัวเชื้อสดไตรโคเดอร์มาเชื้อผสมดินปลูก อัตรา 500 กรัมต่อดิน 10 กิโลกรัม พบว่า
                       แสดงอาการเน่าช้าที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับทุกกรรมวิธี ที่ใช้ชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการป้องกัน

                       โรคโคนเน่า - หัวเน่าของมันสำปะหลัง จนกระทั่งมันสำปะหลังอายุ 45 วัน จึงแสดงอาการโคนเน่า ร่วมกับ

                       อาการต้นเหี่ยว เหมือนกับกรรมวิธีอื่นๆ เมื่อทำการเก็บผลและนำมาแยกเชื้อเพื่อยืนยันอาการเน่าที่เกิดขึ้น
                       พบว่า ทุกกรรมวิธีที่แสดงอาการเน่า แยกเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ได้เชื้อรา Phytophthora spp.

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              ผลงานนี้ได้เผยแพร่ในรายงานผลงานวิจัยประจำปีของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และ
                       บรรยายในงานประชุมวิชาการของหน่วยงานต่างๆ






                       ____________________________________________
                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช



                                                           2180
   2242   2243   2244   2245   2246   2247   2248   2249