Page 2243 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2243
ที่ประเทศไทย เนื่องจากผลการทดลองส่งออกและการส่งออกอย่างเป็นทางการ ไม่พบปัญหาด้าน
สุขอนามัยพืช ทำให้ AQSIQ มีความเชื่อมั่นในระบบดังกล่าวที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ระบบการส่งออกชมพู่ไปสาธารณรัฐประชาชนจีนนี้ ได้นำไปใช้เป็นข้อมูลเสนอต่อ AQSIQ
เพื่อประเมินมาตรการควบคุมความเสี่ยงด้านแมลงวันผลไม้ในชมพู่ส่งออกไปจีน และพิจารณาอนุญาต
ให้มีการนำเข้าชมพู่จากไทยอย่างเป็นทางการ ด้วยการลงนามใน “พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้าน
สุขอนามัยพืชสำหรับผลชมพู่สดส่งออกจากไทยไปจีน"
2. ระบบการส่งออกชมพู่ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่
โรงคัดบรรจุ และผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้อง เกิดความรับผิดชอบ และตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตสินค้า
ให้ได้มาตรฐาน เป็นการยกระดับการกำกับดูแลการผลิตชมพู่ของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ชมพู่ส่งออก
ของไทยมีคุณภาพความปลอดภัย เป็นที่ต้องการของตลาด และเป็นไปตามข้อกำหนดในการนำเข้าของ
ประเทศปลายทาง
3. ระบบการส่งออกชมพู่ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการพัฒนา
ระบบการส่งออกสินค้าเกษตรชนิดอื่น ตั้งแต่สวน โรงคัดบรรจุ จนถึงการส่งออก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ในคุณภาพความปลอดภัยของสินค้า ให้เป็นที่ยอมรับของประเทศปลายทาง
4. ระบบการส่งออกชมพู่ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนอื่นๆ เพื่อให้การ
ดำเนินการสามารถบรรลุผลสำเร็จ ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของถุงพลาสติกห่อผลไทย
และจีน ในระดับห้องปฏิบัติการและในแปลงเกษตรกร การศึกษาระยะการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้
รวมถึงหนอนแดงในชมพู่ การศึกษาวิธีการเจาะรูถุงพลาสติกห่อผลในการป้องกันการเข้าทำลายของ
แมลงวันผลไม้ในชมพู่ และการศึกษาเปรียบเทียบความยาวของถุงพลาสติกห่อผลในการป้องกันการ
เข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ในชมพู่ เป็นต้น
5. ระบบการส่งออกชมพู่ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมกันระหว่าง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกร
โรงคัดบรรจุ และผู้ส่งออก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน เป็นการกระชับ
ความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การดำเนินการบรรลุผลสำเร็จ
2176