Page 2239 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2239
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย โครงการทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืช paraquat dichloride
13.7% W/V SL และสารกำจัดวัชพืช glyphosate isopropylammonium
30% W/V SL ในพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเกษตร
3. ชื่อการทดลอง การท ดส อบ ป ระสิท ธิภ าพ สารกำจัดวัชพื ช glyphosate
isopropylammonium 30% W/V SL ในพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเกษตร
Efficacy of Glyphosate Isopropylammonium 30% W/V SL
for Weed Control in Non Agricultural Areas
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน คมสัน นครศรี เพ็ญศรี นันทสมสราญ 1/
1/
จรัญญา ปิ่นสุภา ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย 1/
ปรัชญา เอกฐิน 1/
5. บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืช glyphosate isopropylammonium 30% W/V SL
เพื่อกำจัดวัชพืชในพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเกษตร ดำเนินการทดลองที่อำเภอท่ามะกา และอำเภอท่าม่วง
จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงสิงหาคม 2558 วางแผนการทดลองแบบ Randomized
Complete Block Design จำนวน 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ประกอบด้วยกรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช glyphosate
isopropylammonium 30% W/V SL อัตรา 90, 120 และ 150 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ เปรียบเทียบกับ
สาร glyphosate isopropylammonium 48% W/V SL อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ (พ่นหลัง
วัชพืชงอก มีความสูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร) โดยมีกรรมวิธีการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน และกรรมวิธี
ไม่กำจัดวัชพืช เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ พบว่าการพ่นสารกำจัดวัชพืช glyphosate isopropylammonium
30% W/V SL ทุกอัตราที่ทดลอง ไม่สามารถกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนติด (Brachiaria
reptans (L.) Gard & Hubb) หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link) หญ้าดอกขาวเล็ก
(Leptochloa panicea (Retz.) Ohwi) หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.) Scop.) วัชพืชประเภท
ใบกว้าง เช่น ผักโขมหิน (Boerhavia diffusa L.) หญ้ายาง (Euphorbia heterophylla L.) และผักเบี้ยหิน
(Trianthema portulacastrum L.) แต่การพ่นสารกำจัดวัชพืช glyphosate isopropylammonium
48% W/V SL อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถกำจัดวัชพืชดังกล่าวได้
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้ข้อมูลประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืช glyphosate isopropylammonium ที่มีความเข้มข้น
ต่างกัน ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
_____________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2172