Page 2236 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2236
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย การเตรียมความพร้อมในการบรรจุพลับพลึงธารไว้ในบัญชีที่ 3
แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า
ที่ใกล้สูญพันธุ์
3. ชื่อการทดลอง เปรียบเทียบการปักชำพลับพลึงธารในสภาพธรรมชาติกับบ่อซีเมนต์
ที่มีผลต่อต้นพลับพลึงธารก่อนการจำหน่าย
Comparing the Cuttings in Water Onion with Natural and
Cement Pond that Affect the Water Onion Before Disposal
4. คณะผู้ดำเนินงาน สุภาภรณ์ สาชาติ อุทัยวรรณ ทรัพย์แก้ว 1/
1/
จารุวรรณ จาติเสถียร ดวงเดือน ศรีโพทา 2/
2/
พรเทพ ท้วมสมบูรณ์ เดชา ดวงนามล 3/
2/
5. บทคัดย่อ
พลับพลึงธารเป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะจังหวัดระนองตอนล่าง และจังหวัดพังงาตอนบน
ได้รับการจัดสถานภาพเป็นพืชหายากเฉพาะถิ่นที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เนื่องมาจากการทำลายถิ่นอาศัย
รวมทั้งการเก็บส่วนขยายพันธุ์ หรือหัวพันธุ์พลับพลึงธารส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงควรมีการควบคุม
การค้าระหว่างประเทศโดยบรรจุไว้ในบัญชีแนบท้ายที่ 3 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (อนุสัญญาไซเตส) หรือพืชอนุรักษ์ ดังนั้นจึงต้องมีข้อมูลทางชีววิทยา
ข้อมูลทางการค้า สถานภาพของชนิดพันธุ์ กฎระเบียบในการอนุรักษ์และควบคุมการใช้ประโยชน์ของ
พลับพลึงธาร ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเสนอพลับพลึงธารไว้ในบัญชีแนบท้ายที่ 3
จึงจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพื่อหาเทคนิค และวิธีการขยายพันธุ์ เพื่อเพิ่มปริมาณพลับพลึงธาร ทั้งปริมาณ
ในธรรมชาติ และปริมาณเพื่อการค้า การส่งออก โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการปักชำพลับพลึงธาร
ในสภาพธรรมชาติกับบ่อซีเมนต์ที่มีผลต่อต้นพลับพลึงธารก่อนการจำหน่าย ในพื้นที่เกษตรกรที่เป็นแหล่ง
พบพลับพลึงธาร ได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพังงา 2 ราย และเกษตรกรจังหวัดระนอง 1 ราย
ผลการศึกษาพบว่า การขยายพันธุ์เทียมด้วยวิธีผ่าแบ่งหัวเป็น 4 ส่วน เมื่อนำมาปักชำพลับพลึงธาร
ในสภาพธรรมชาติกับบ่อซีเมนต์ สามารถเพิ่มขยายหัวพลับพลึงธารได้มากกว่าไม่ผ่าหัว และสามารถ
เพาะเลี้ยงได้ในพื้นที่เกษตรกรแต่ขนาดหัวจะเล็กกว่าพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่น้ำหนัก
มวลรวมพบว่า การเจริญเติบโตในพื้นที่เกษตรกรมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าในพื้นที่คลองธรรมชาติ
ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบด้วย T - test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และการ
เจริญเติบโตของพลับพลึงธาร ได้แก่ จำนวนราก ความยาวราก และน้ำหนักมวลรวมจากอายุปลูก 1 เดือน
______________________________________________
1/ สถาบันวิจัยพืชสวน
2/ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช
สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน
3/
2169