Page 2233 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2233
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดแมลงวันผลไม้ชนิด Bactrocera dorsalis
(Hendel) ด้วยการแช่น้ำร้อนสำหรับมะม่วงเพื่อการส่งออก
3. ชื่อการทดลอง วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดแมลงวันผลไม้ชนิด Bactrocera dorsalis
(Hendel) ด้วยการแช่น้ำร้อนสำหรับมะม่วงเพื่อการส่งออก
Research and Development of Hot Water Quarantine
Treatment for Control of Oriental Fruit Fly (Bactrocera
dorsalis (Hendel)) in Mango for Export
4. คณะผู้ดำเนินงาน สัญญาณี ศรีคชา กรกต ดำรักษ์ 1/
1/
วลัยกร รัตนเดชากุล 1/
5. บทคัดย่อ
การแช่น้ำร้อน (hot water treatment) เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด
แมลงวันผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศโดยเฉพาะในแถบ
ลาตินอเมริกา นอกจากนี้ยังมีการอนุมัติให้การแช่น้ำร้อนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชด้านการ
กักกันพืช (quarantine treatment) แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการแช่น้ำร้อน
สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้มาก่อน ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยเทคนิคการแช่น้ำร้อน
สำหรับมะม่วงเพื่อการส่งออก โดยดำเนินการที่โรงคัดบรรจุผักและผลไม้ของบริษัท วีเอสเฟรชโก้ จำกัด
ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลผลิตเกษตร กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการ
เก็บเกี่ยวและแปรรูป และห้องปฏิบัติการกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกรกฎาคม 2558 เพื่อหาอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการ
กำจัดแมลงวันผลไม้ชนิด Bactrocera dorsalis (Hendel) ทั้งระยะไข่และระยะหนอน ด้วยเทคนิค
การแช่น้ำร้อนสำหรับมะม่วง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้านการกักกันพืช (plant
quarantine treatment) ในระดับสากล และใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดแมลงวันผลไม้หลังการ
เก็บเกี่ยวสำหรับมะม่วงเพื่อการส่งออก จากผลการทดลองพบว่า การแช่มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองในน้ำร้อน
ที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 60 นาที สามารถกำจัดแมลงวันผลไม้ทั้งระยะไข่และระยะหนอนได้
100 เปอร์เซ็นต์ โดยหลังจากที่แช่น้ำร้อนแล้วต้องทำการลดความร้อนของผลด้วยการแช่ในน้ำเย็นจัด
นาน 5 นาที ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลมะม่วง
_____________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2166