Page 2231 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2231
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย อุณหภูมิและสภาพที่เหมาะสมต่อการกำจัดแมลงศัตรูในพิพิธภัณฑ์
3. ชื่อการทดลอง การกำจัดแมลงศัตรูในพิพิธภัณฑ์ ในหีบไม้เก็บตัวอย่างแมลงที่วัสดุ
บุพื้นหีบต่างกัน ที่อุณหภูมิ -20 และ -40 องศาเซลเซียส
The Control of Museum Insect Pests Based on Different
Curating Conditions and Low Temperatures, -20 and -40 °C
4. คณะผู้ดำเนินงาน อาทิตย์ รักกสิกร จารุวัตถ์ แต้กุล 1/
1/
สุนัดดา เชาวลิต อิทธิพล บรรณาการ 1/
1/
ชมัยพร บัวมาศ 1/
5. บทคัดย่อ
แมลงศัตรูในพิพิธภัณฑ์เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการจัดการพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์แมลง
กรมวิชาการเกษตร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เก็บรักษาตัวอย่างแมลงมากกว่า
548,000 ตัวอย่าง ซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นฐานข้อมูลในงานวิจัยทางการเกษตรและทางธรรมชาติ ขณะนี้
ทางพิพิธภัณฑ์ได้ตรวจพบการปนเปื้อนของแมลงศัตรูพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ เหาหนังสือ สกุล Liposcelis
ด้วงหนังสัตว์ชนิด Dermestes maculatus DeGeer, 1774 และมอดแป้งชนิด Tribolium castaneum
(Herbst, 1797) วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อค้นหา อุณหภูมิและระยะเวลา วัสดุและสภาพที่
เหมาะสมต่อการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในพิพิธภัณฑ์ โดยดำเนินการศึกษาที่กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง
กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 จากผลการศึกษาทดลองกำจัดแมลง
ศัตรูในพิพิธภัณฑ์ ในหีบไม้เก็บตัวอย่างแมลงที่มีวัสดุบุพื้นหีบต่างกัน ที่อุณหภูมิ -20 และ -40 องศาเซลเซียส
พบว่าทั้งสองอุณหภูมิสามารถกำจัดมอดแป้งได้ ทั้งนี้ไม้คอร์กและโฟมยาง สามารถใช้เป็นวัสดุบุพื้นหีบ
เก็บตัวอย่างแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยเห็นว่า เมื่อพบ
การปนเปื้อนแมลงศัตรูพิพิธภัณฑ์ในหีบไม้เก็บตัวอย่างแมลง สามารถกำจัดได้โดยการแช่ที่อุณหภูมิ
-20 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3 ถึง 5 วัน ผลการทดลองจากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เป็น
ข้อมูลเบื้องต้นในการเฝ้าระวังและป้องกันกำจัด ในพิพิธภัณฑ์แมลงต่อไปในอนาคต
_____________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2164