Page 2227 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2227
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย ชีววิทยาและศักยภาพของมวนตัวห้ำ Cardiastethus exiguus Poppius
(Hemiptera: Anthocoridae) ในการกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช
3. ชื่อการทดลอง ชีววิทยาและศักยภาพของมวนตัวห้ำ Cardiastethus exiguus Poppius
(Hemiptera: Anthocoridae) ในการกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช
Biological and Potential as on Bio - agent of Cardiastethus
exiguus Poppius (Hemiptera: Anthocoridae) for Controlling
Insect and Mite Pests
1/
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน อทิติยา แก้วประดิษฐ์ พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์
พลอยชมพู กรวิภาสเรือง อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล 1/
1/
รจนา ไวยเจริญ 1/
5. บทคัดย่อ
มวนตัวห้ำ Cardiastethus exiguus Poppius (Hemiptera: Anthocoridae) เป็นแมลง
ศัตรูธรรมชาติที่พบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในปัจจุบันยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยาและการนำไปใช้
ประโยชน์ของศัตรูธรรมชาติชนิดนี้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางชีววิทยา
และศักยภาพของมวนตัวห้ำ ในการควบคุมแมลงและไรศัตรูพืช ทุกการทดลองดำเนินการที่กลุ่มกีฏและ
สัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 ในสภาพห้องปฏิบัติการ
ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 28 ± 2องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 75 ± 2 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาวงจรชีวิต
ของมวนตัวห้ำ เมื่อเลี้ยงด้วยไข่ผีเสื้อข้าวสาร พบว่ามวนตัวห้ำ มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน
และระยะตัวเต็มวัย มีอายุเฉลี่ย 4.18 ± 0.39, 17.72 ± 2.50, 49.13 ± 3.56 วัน ตามลำดับ จากการศึกษา
ตารางชีวิตของมวนตัวห้ำ เมื่อเลี้ยงด้วยเหยื่อ 4 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยไฟฝ้าย เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู
ไรแดงหม่อน และไรขาวพริก มีอัตราการขยายพันธุ์สุทธิ (R ) เท่ากับ 5.890, 5.600, 2.930 และ 0 เท่า
o
ตามลำดับ จากการทดสอบความชอบของมวนตัวห้ำ ที่มีต่อเหยื่อ 5 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยไฟฝ้าย แมลงหวี่ขาวยาสูบ
เพลี้ยอ่อนฝ้าย เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง และไรแดงหม่อน พบว่ามวนตัวห้ำชอบกินเพลี้ยไฟฝ้ายมากที่สุด
ในทุกระยะการเจริญเติบโต เปรียบเทียบศักยภาพของมวนตัวห้ำในการกินเหยื่อ พบว่า มวนตัวห้ำ
กินเพลี้ยไฟฝ้ายได้เฉลี่ย 348.52 ± 15.27 ตัว มากกว่าไรแดงหม่อน ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (P<0.05) และมวนตัวห้ำมีศักยภาพการกินเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้เฉลี่ย 336.82 ± 10.55 ตัว
มากกว่าไรขาวพริก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผลการทดลองนี้เป็นข้อพื้นฐาน
สามารถนำไปเป็นแนวทางเพาะเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณเพื่อใช้ในการควบคุมศัตรูพืชในสภาพไร่ต่อไป
2160