Page 2223 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2223
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย ศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
3. ชื่อการทดลอง ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงชนิดต่างๆ เพื่อทดแทน
สารเฝ้าระวังในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูแตงโม
Efficacy of Some Insecticides in Order to Replacement
Prohibited Insecticides for Controlling Insect Pest on
Watermelon
4. คณะผู้ดำเนินงาน สุภางคนา ถิรวุธ สิริกัญญา ขุนวิเศษ 1/
1/
สุชาดา สุพรศิลป์ สิริวิภา พลตรี 1/
1/
สรรชัย เพชรธรรมรส 1/
5. บทคัดย่อ
ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงชนิดต่างๆ โดยกรรมวิธีรองก้นหลุมก่อนการย้ายปลูก
เพื่อทดแทนสารเฝ้าระวังในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูแตงโม ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกร
จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม 2557 ถึงกรกฎาคม 2558 วางแผนการทดลองแบบ
RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 6 กรรมวิธี คือกรรมวิธีรองก้นหลุมด้วยสาร cartap hydrochloride 4% G อัตรา
3 กรัมต่อหลุม, cartap hydrochloride 3% + isoprocarb 3% G อัตรา 2 กรัมต่อหลุม, chlorpyrifos
5% G อัตรา 3 กรัมต่อหลุม, dinotefuran 1% G อัตรา 2 กรัมต่อหลุม และ benfuracarb 3% G อัตรา
2 กรัมต่อหลุม เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่ใช้สาร ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่มีการใช้สารทุกกรรมวิธี
มีประสิทธิภาพดีกว่ากรรมวิธีไม่ใช้สารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้าย (Cotton thrips); Thrips palmi
Karny ในแตงโม โดยกรรมวิธีรองก้นหลุมด้วยสาร cartap hydrochloride 4% G อัตรา 3 กรัมต่อหลุม
มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบถึงด้านผลผลิตและผลตอบแทน
พบว่า กรรมวิธีรองก้นหลุมด้วยสาร benfuracarb 3% G อัตรา 2 กรัมต่อหลุม ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตลาด
และให้ผลตอบแทนสูงที่สุด และยังเป็นกรรมวิธีที่มีต้นทุนการใช้สารต่อไร่ต่ำที่สุดอีกด้วย
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้ชนิดและอัตราสารที่มีประสิทธิภาพทดแทนสารป้องกันกำจัดแมลงที่ถูกห้ามใช้ในแตงโม
เพื่อใช้เป็นคำแนะนำให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนจากการใช้สารที่ถูกห้ามมาเป็นใช้สารป้องกันกำจัด
แมลงที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
_____________________________________________
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1/
2156