Page 2224 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2224
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย การทดลองหาสารทดแทนสารป้องกันกำจัดแมลงที่ถูกห้ามใช้
3. ชื่อการทดลอง ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงเพื่อทดแทนสารประกาศห้ามใช้ในการ
ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะเขือเทศ
Efficacy of Some Insecticides in Order to Replacement
Prohibited Insecticide for Controlling Insect Pest on Tomato
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน นลินา พรมเกษา พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท 1/
สุชาดา สุพรศิลป์ สิริวิภา พลตรี 1/
1/
สรรชัย เพชรธรรมรส 1/
5. บทคัดย่อ
ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงเพื่อทดแทนสารประกาศห้ามใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรู
มะเขือเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสารที่มีประสิทธิภาพทดแทนสารที่ประกาศห้ามใช้ในการป้องกันกำจัด
แมลงศัตรูมะเขือเทศ รวม 3 แปลงทดลอง ในปี 2557 - 2558 โดยในปี 2557 ดำเนินการในแปลงของ
เกษตรกร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงกันยายน 2557 และปี 2558
ดำเนินการในแปลงเกษตรกรตำบลวังขนาย และตำบลรางสาลี่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี วางแผน
การทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี โดยการรองก้นหลุม
ก่อนย้ายกล้าลงหลุมปลูกด้วยสาร cartap hydrochloride 4% GR อัตรา 3 กรัมต่อหลุม cartap
hydrochloride 3% + isoprocarb 3% GR อัตรา 2 กรัมต่อหลุม chlorpyrifos 5% GR อัตรา 2 กรัมต่อหลุม
dinotefuran 1% GR อัตรา 3 กรัมต่อหลุม benfuracarb 3% GR อัตรา 3 กรัมต่อหลุม เปรียบเทียบกับ
กรรมวิธีไม่ใช้สาร ปลูกมะเขือเทศแปลงย่อยขนาด 5 × 6 เมตร จำนวน 24 แปลงย่อย ปลูกเป็นแถวคู่
ระยะห่างระหว่างแถว 80 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ตรวจนับแมลงหลังปลูก
5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40 และ 45 วัน จำนวน 20 ต้นต่อแปลงย่อย เก็บผลผลิตจำนวน 4 ครั้ง และ
คำนวณต้นทุนต่อไร่ ผลการทดลองสรุปได้ว่า การรองก้นหลุมด้วยสาร dinotefuran 1% GR อัตรา
3 กรัมต่อหลุม พบเพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว และหนอนชอนใบน้อยกว่า ได้ผลผลิตมากกว่าและแตกต่าง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่ใช้สาร ส่วนกรรมวิธีใช้สารอื่นให้ผลไม่ชัดเจน
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ได้คำแนะนำการใช้สารฆ่าแมลงเพื่อทดแทนสารประกาศห้ามใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรู
มะเขือเทศโดยวิธีการรองก้นหลุม
2. ได้ข้อมูลไปปรับปรุงคำแนะนำการใช้สารของกรมวิชาการเกษตร
3. ได้ข้อมูลไปปรับปรุงคำแนะนำในคู่มือเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)
_____________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2157