Page 69 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 69
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
2. โครงการวิจัย การวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้น
3. ชื่อการทดลอง การผสมพันธุ์ยางเพื่อให้ได้พันธุ์ยางที่ต้านทานโรคใบจุดก้างปลา
Hand Pollination for Corynespora Leaf Spot Disease Resistance
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ศยามล แก้วบรรจง ภัทรา กิณเรศ 1/
กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข นพวรรณ นิลสุวรรณ 1/
2/
5. บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพันธุ์ยางใหม่โดยการผสมพันธุ์ยางซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของ
การปรับปรุงพันธุ์ยางมาตรฐาน เพื่อให้ได้พันธุ์ยางที่เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้นและต้านทานโรคใบจุด
ก้างปลา ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 โดยเริ่มจาก
คัดเลือกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวได้ดีในพื้นที่ภาคใต้ และที่สำคัญมีลักษณะต้านทานโรคใบจุด
ก้างปลา นำพันธุ์ยางดังกล่าวมาปลูกสร้างเป็นแปลงแม่ - พ่อพันธุ์ มีจำนวนพันธุ์ทั้งสิ้น 24 พันธุ์ ได้แก่
RRIT225, RRIT226, RRIT250, RRIT251, RRIT 408, RRIT3604, RRIT3605, RRIT3906, PB235,
PB311, PB260, PR255, AVROS2037, Tjir1, BPM24, PB28/59, PB86, PB5/51, RRIM107,
IRCA871, IRCA825, IRCA323, RRIC100 และ RRII105 ใช้ระยะปลูก 6 x 6 เมตร ได้ต้นแม่ - พ่อพันธุ์
รวมทั้งสิ้น 96 ต้น ผลการติดตาเปลี่ยนพันธุ์สำเร็จ จำนวน 73 ต้น คิดเป็นร้อยละ 76 ของจำนวนต้นทั้งหมด
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้แปลงแม่ - พ่อพันธุ์ใช้ผลิตลูกผสมใหม่ เพื่อนำไปคัดเลือกพันธุ์เบื้องต้น ก่อนเข้าสู่การ
เปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้น - ปลาย และการทดสอบพันธุ์ยาง ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ยางใน
โครงการวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้น
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา
2/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
2