Page 74 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 74

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          การปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

                       2. โครงการวิจัย             การวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้น

                       3. ชื่อการทดลอง             การเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้นสายพันธุ์ยางลูกผสมชุด 400 RRIT-CH-37/1/2
                                                   Preliminary Proof Clone Trial of Heavea Hybrid Clones Series

                                                   400 RRIT-CH-37/1/2

                                                               1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          วิทยา  พรหมมี               กรรณิการ์  ธีระวัฒนสุข 1/
                                                                 2/
                                                   กฤษดา  สังข์สิงห์           อารมณ์  โรจน์สุจิต 3/
                                                   วันเพ็ญ  พฤกษ์วิวัฒน์       บรรเจิด  พูลศิลป์ 4/
                                                                     4/
                       5. บทคัดย่อ

                               การเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้นสายพันธุ์ยางลูกผสมชุด 400 RRIT-CH-37 มีวัตถุประสงค์เพื่อ

                       คัดเลือกพันธุ์ยางที่มีการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง การทนทานต่อโรคได้ดี โดยทำการทดลองที่สถานี
                       ทดลองยางวังทัง จังหวัดพังงา เริ่มทำการทดลองปี 2543 คาดว่าจะสิ้นสุดการทดลองปี 2563 พันธุ์ยางที่ใช้

                       ทั้งหมด 144 พันธุ์ โดยมีพันธุ์ยาง RRIT251, RRIM600, PB260 และ BPM24 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ วางแผน
                       การทดลองแบบ Triple Lectice จำนวน 3 ซ้ำๆ ละ 7 ต้น พื้นที่ทำการทดลอง 45 ไร่ จากการเก็บข้อมูล

                       การเจริญเติบโตของต้นยางหลังเปิดกรีด พบว่า หลังเปิดกรีด 7 ปี พันธุ์ยางลูกผสมแต่ละพันธุ์ มีขนาดเส้น

                       รอบลำต้นเฉลี่ย 62.4 เซนติเมตร โดยมีขนาดเส้นรอบลำต้นอยู่ระหว่าง 49.1 - 79.6 เซนติเมตร โดยพันธุ์ยาง
                       ที่มีขนาดเส้นรอบลำต้นสูงที่สุด คือ RRI-CH-37-0471, RRI-CH-37-0106 (79.6 เซนติเมตร) รองลงมา

                       คือ RRI-CH-37-0397 (76.9 เซนติเมตร), RRI-CH-37-0199 (76.7 เซนติเมตร), RRI-CH-37-0497,

                       RRI-CH-37-0097 (75.5 เซนติเมตร) และ RRI-CH-37-0407 (74.2 เซนติเมตร) ตามลำดับ ในขณะที่
                       พันธุ์เปรียบเทียบ คือ พันธุ์ RRIT251, RRIM600, PB260 และ BPM24 มีขนาดเส้นรอบลำต้น 59.7,

                       67.8, 70.4 และ 57.3 เซนติเมตร ตามลำดับ และจากการเก็บผลผลิตยาง ทั้งหมด 144 พันธุ์ พบว่า
                       พันธุ์ยางลูกผสมแต่ละพันธุ์ มีผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 7 ปี 31.83 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด โดยมีผลผลิตเฉลี่ย

                       อยู่ระหว่าง 8.08 - 61.14 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด พันธุ์ยางที่มีผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด คือ RRI-CH-37-0691

                       (76.36) รองลงมา คือ RRI-CH-37-1056 (70.74), RRI-CH-37-0910 (66.80), RRIT251 (66.26) และ
                       RRI-CH-37-0380 (64.32) ตามลำดับ ในขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ คือ พันธุ์ RRIT251, RRIM600, PB260

                       และ BPM24 มีผลผลิตเฉลี่ย 58.86, 41.07, 35.42 และ 31.21 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด ตามลำดับ





                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
                       2/ ศูนย์วิจัยยางหนองคาย

                       3/ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี
                        ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา
                       4/
                                                            7
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79