Page 773 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 773
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาถั่วลิสง
2. โครงการวิจัย การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที่
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
Testing and Development of Technology to Produce Peanuts
in Lopburi Province
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน นงลักษ์ ปั้นลาย วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ 2/
5. บทคัดย่อ
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่จังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำ
เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงที่เหมาะสมในพื้นที่และเพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ ไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 20 ดำเนินการทดสอบในไร่เกษตรกรจังหวัดลพบุรี ในปี 2554 - 2558 เป็นการทดลองในไร่
เกษตรกรประเภท Technology Verification Experiment (TVE) วางแผนการทดลองแบบ
Randomized Complete Block ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร
โดยนำเทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ในแปลงเกษตรกร ทำการวิเคราะห์ดิน
ก่อนปลูก และแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการคลุกเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงด้วยปุ๋ยชีวภาพ
ไรโซเบียม ผลการทดลอง ปี 2554 - 2556 พบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยทั้ง 3 ปี 1,070
กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 883 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตจากกรรมวิธี
ทดสอบเพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีเกษตรกร ร้อยละ 17 เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า
ผลตอบแทนสุทธิในกรรมวิธีทดสอบเฉลี่ย 8,880 บาทต่อไร่ กรรมวิธีเกษตรกรให้ผลตอบแทนสุทธิ 6,491
บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลตอบแทนสุทธิสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ร้อยละ 30 ส่วนต้นทุนการผลิต
ต่อหน่วย กรรมวิธีทดสอบมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วย 10.56 บาท ต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกรที่มีต้นทุนการ
ผลิต 11.46 บาท อัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) มีค่ามากกว่า 1 ทั้ง 2 กรรมวิธี ในปี 2557 - 2558
ได้ทำการขยายผลการทดสอบไปยังพื้นที่ปลูกใกล้เคียงในจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นการปลูกหลังการทำนาฤดูแล้ง
พบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 1,097 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตฝักสด
เฉลี่ย 746 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตจากกรรมวิธีทดสอบเพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีเกษตรกร ร้อยละ 32 เมื่อวิเคราะห์
ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า กรรมวิธีทดสอบมีผลตอบแทนสุทธิ 12,188 บาท สูงกว่ากรรมวิธี
เกษตรกรที่มีผลตอบแทนสุทธิ 7,538 บาท กรรมวิธีทดสอบให้ผลตอบแทนสุทธิสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร
ร้อยละ 38 และต้นทุนการผลิตต่อหน่วย กรรมวิธีทดสอบ 10.26 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร
ที่มีต้นทุน 11.75 บาท และจากการสอบถามความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในการยอมรับ
เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสง พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ยอมรับเทคโนโลยีที่นำไปทดสอบ
____________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี
2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
706