Page 778 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 778

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชไร่น้ำมันอื่นๆ (งา, ทานตะวัน, สบู่ดำ)
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา

                       3. ชื่อการทดลอง             การปรับปรุงพันธุ์งาดำเพื่อผลผลิตสูง : การเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่น

                                                   Regional  Trial  :  Black  Sesame  Varieties  Improvement  for
                                                   High Yield

                                                                   1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ธำรง  เชื้อกิตติศักดิ์      อานนท์  มลิพันธ์ 2/
                                                                 3/
                                                   สุทธิดา  บูชารัมย์          สมใจ  โควสุรัตน์ 1/
                                                   จุไรรัตน์  หวังเป็น         สมหมาย  วังทอง 1/
                                                                  1/
                                                   จำลอง  กกรัมย์ 1/

                       5. บทคัดย่อ
                               คัดเลือกสายพันธุ์งาดำที่ผ่านการเปรียบเทียบมาตรฐาน ในปี 2557 จำนวน 7 สายพันธุ์ ปลูก

                       เปรียบเทียบกับ สายพันธุ์ก้าวหน้า/พันธุ์รับรอง จำนวน 5 สายพันธุ์/พันธุ์ ในต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน
                       ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร

                       บุรีรัมย์ ต้นฤดูฝนผลการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ต้นฤดูฝน พันธุ์อุบลราชธานี 3 ให้ผลผลิต
                       สูงสุด 31 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างกับอีก 9 สายพันธุ์ ที่มีผลผลิตอยู่ระหว่าง 19 - 30 กิโลกรัมต่อไร่

                       ปลายฤดูฝนผลผลิตไม่แตกต่างกันอยู่ในช่วง 78 - 138 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ยต้นและปลายฤดูฝน สาย

                       พันธุ์BS54-48 มีผลผลิตมากที่สุด 84 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี ต้นฤดูฝนสาย
                       พันธุ์ MKS-I-84001 ให้ผลผลิต 165 กิโลกรัมต่อไร่ มากที่สุด ปลายฤดูฝนพันธุ์ มก.18 ให้ผลผลิต 90 กิโลกรัม

                       ต่อไร่ มากที่สุด แต่ไม่แตกต่างกับอีก 6 สายพันธุ์ ที่มีผลผลิตอยู่ระหว่าง 60 - 88 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ยต้น

                       และปลายฤดูฝน สายพันธุ์ MKS-I-84001 มีผลผลิตมากที่สุด 124 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ศูนย์วิจัยและ
                       พัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ ต้นฤดูฝนสายพันธุ์ MKS-I-84001 ให้ผลผลิตสูงที่สุด 93 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่

                       แตกต่างกับสายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีผลผลิตอยู่ระหว่าง 43 - 81 กิโลกรัมต่อไร่ ปลายฤดูฝนผลผลิตไม่มีความ

                       แตกต่างกัน อยู่ในช่วง 110 - 192 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ยต้นและปลายฤดูฝน พันธุ์อุบลราชธานี 3 มีผลผลิต
                       มากที่สุด 126 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเฉลี่ยผลผลิตแต่ละฤดูของทั้ง 3 สถานที่ พบว่า ต้นฤดูฝน สายพันธุ์

                       MKS-I-84001 ผลผลิตมากที่สุด 88 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคืออุบลราชธานี 3 ผลผลิต 62 กิโลกรัมต่อไร่
                       ส่วนปลายฤดูฝน สายพันธุ์ BS54-54 ผลผลิตมากที่สุด 124 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ MKS-I-84001

                       ผลผลิต 122 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ยต้นและปลายฤดูฝน สายพันธุ์ MKS-I-84001 ผลผลิตมากที่สุด 105

                       กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ BS54-54 ผลผลิต 87 กิโลกรัมต่อไร่ อุบลราชธานี 3 ผลผลิต 84 กิโลกรัมต่อ
                       ไร่ BS54-05และ BS54-32 ผลผลิตเท่ากัน คือ 82 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งได้ทำการคัดเลือกประมาณ 3 สาย

                       พันธุ์ คือ BS54-54 BS54-32 และ BS54-05 เพื่อเข้าเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรต่อไป
                       ____________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี

                       3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์
                                                           711
   773   774   775   776   777   778   779   780   781   782   783