Page 783 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 783
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชไร่น้ำมันอื่นๆ (งา, ทานตะวัน, สบู่ดำ)
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา
3. ชื่อการทดลอง การปรับปรุงพันธุ์งาฝักไม่แตกง่าย : การผสมและคัดเลือกพันธุ์
Breeding Program for Semi - Shattering Sesame : Hybridization
and Selection
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน จุไรรัตน์ หวังเป็น สมใจ โควสุรัตน์ 1/
ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์ สมหมาย วังทอง 1/
1/
5. บทคัดย่อ
คัดเลือกพันธุ์งาสายพันธุ์พ่อแม่ที่ฝักไม่แตกง่ายและผลผลิตสูง 7 พันธุ์/สายพันธุ์ คือ Cplus1
No.5 GMUB1 NS.4 RE1 งาแดงอุบลราชธานี 1 (UB1) และ Yuzhi 8 (Y8) ผสมแบบพบกันหมด และ
สลับพ่อแม่ (reciprocal cross) ผลการทดลอง ปี 2556 พบว่า ต้นฤดูฝน ทำการผสมพันธุ์ ผสมได้ทั้งหมด
41 คู่ ปลายฤดูฝน ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ปล่อยให้ผสมตัวเอง ปี 2557 ต้นฤดูฝน ปลูกลูกผสมชั่วที่ 2 ได้
จำนวน 37 แถวคัดเลือกสายพันธุ์งาฝักไม่แตกง่ายโดยใช้เกณฑ์ การหาค่าเปอร์เซ็นต์ความต้านทานการ
แตกของฝัก โดยแต่ละคู่ผสมเก็บฝักสุกแก่จาก 10 ต้นต่อสายพันธุ์ จำนวน 6 ฝักต่อ 1 ต้น เมื่อฝักแห้งแล้ว
นำไปใส่ขวด เพื่อนำมาเขย่าด้วยเครื่องเขย่านาน 20 นาที นำเมล็ดที่ร่วงจากฝักหลังการเขย่ามารวมกับ
เมล็ดที่ร่วงจากฝักก่อนเขย่า นำไปชั่งน้ำหนัก และชั่งน้ำหนักเมล็ดที่คงเหลืออยู่ในฝัก คำนวณหาค่าความ
ต้านทานการแตกของฝักงา สายพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความต้านทานการแตกของฝัก ตั้งแต่ 50 เปอร์เซ็นต์
ขึ้นไป คัดเลือกได้ 34 แถว นำปลูกปลายฝนแบบต้นต่อแถว ได้ลูกผสมชั่วที่ 3 คัดเลือกได้ 34 ต้น คัดเลือก
โดยใช้หลักเกณฑ์แบบเดิม ปลูกลูกผสมชั่วที่ 3 คัดเลือกได้ลูกผสมชั่วที่ 4 จำนวน 32 ต้น คัดเลือกโดยใช้
หลักเกณฑ์แบบเดิม ปลูกลูกผสมชั่วที่ 4 คัดเลือกได้ลูกผสมชั่วที่ 5 จำนวน 52 ต้น ปลูกลูกผสมชั่วที่ 5
คัดเลือกโดยใช้หลักเกณฑ์แบบเดิม พบว่า เปอร์เซ็นต์ความต้านทานการแตกของฝัก ตั้งแต่ 50.3 - 91.9
เปอร์เซ็นต์ ได้จำนวน 14 สายพันธุ์ เปอร์เซ็นต์ความยาวรอยแตก ตั้งแต่ 34.5 - 83.3 เปอร์เซ็นต์ ความสูงงา
มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 84 - 131 เซนติเมตร จำนวนฝักต่อต้น เฉลี่ย 24.2 - 46.5 ฝักต่อต้น น้ำหนัก 1,000 เมล็ด
มีค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 2.20 - 3.10 กรัม เพื่อใช้ประเมินพันธุ์ในขั้นต่อไป
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้สายพันธุ์งาที่ฝักไม่แตกง่าย เพื่อนำเข้าเปรียบเทียบในขั้นตอนต่อไป
____________________________________________
ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
1/
716