Page 784 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 784

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชไร่น้ำมันอื่นๆ (งา, ทานตะวัน, สบู่ดำ)
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา

                       3. ชื่อการทดลอง             การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตงาในเขตชลประทาน

                                                   Yield Potential Evaluation of Sesame Grown in the Irrigated
                                                   Area

                                                                  1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          จุไรรัตน์  หวังเป็น         สมใจ  โควสุรัตน์ 1/
                                                   ธำรง  เชื้อกิตติศักดิ์      สมหมาย  วังทอง 1/
                                                                   1/
                       5. บทคัดย่อ

                               ทำการประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตงาในเขตชลประทาน ในปี 2556 - 2558 ดำเนินการใน

                       ปี 2556 อำเภอสว่างวีระวงศ์ และในปี 2557 - 2558 อำเภอตระการพืชผล และอำเภอพิบูลมังสาหาร
                       จังหวัดอุบลราชธานี ทำการทดลองฤดูแล้ง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ ประกอบด้วย พันธุ์งา

                       จำนวน 17 พันธุ์/สายพันธุ์ โดยมีงาพันธุ์รับรอง พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 มหาสารคาม 60 อุบลราชธานี 1
                       อุบลราชธานี 2 และอุบลราชธานี 3 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ผลการทดลอง ปี 2556 พบว่า ไม่มีสายพันธุ์ใด

                       ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 (117 กิโลกรัมต่อไร่) สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์สูง ได้แก่
                       สายพันธุ์ MKS-I-84001 งาแดงอุบลราชธานี 2 ให้ผลผลิตเท่ากัน คือ 114 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ

                       MR13 (112 กิโลกรัมต่อไร่) ตามลำดับ ส่วนการตรวจเช็คระดับความรุนแรงของโรคราแป้ง ไม่พบการเกิด

                       โรคราแป้งภายในแปลงทดลอง ปี 2557 ปลูกงาที่อำเภอตระการพืชผล น้ำหนักผลผลิต มีความแตกต่าง
                       ทางสถิติ สายพันธุ์ MKS-I-84001 ให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ 76 กิโลกรัมต่อไร่ และมีค่าใกล้เคียงกับอีก 7

                       พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ งาดำอุบลราชธานี 3  Yuzhi no.4  มข. 2  งาแดงอุบลราชธานี 1  MR13

                       GMUB1 และงาแดงอุบลราชธานี 2 น้ำหนักผลผลิตอยู่ระหว่าง 46 - 65 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกงาที่อำเภอ
                       พิบูลมังสาหาร น้ำหนักผลผลิตมีความแตกต่างทางสถิติ สายพันธุ์ GMUB4 มีน้ำหนักสูงที่สุด คือ 31

                       กิโลกรัมต่อไร่ และมีค่าใกล้เคียงกับอีก 11 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ งาขาวมหาสารคาม 60  มข. 2

                       ชัยบาดาล  MKS-I-84001  MR13  งาแดงอุบลราชธานี 2  งาขาวอุบลราชธานี 2  งาแดงอุบลราชธานี 1
                       งาดำอุบลราชธานี 3  CM07 และ GMUB1 น้ำหนักผลผลิตอยู่ระหว่าง 19 - 30 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการ

                       ตรวจเช็คระดับความรุนแรงของโรคราแป้ง ไม่พบการเกิดโรคราแป้งภายในแปลงทดลองของทั้ง 2 สถานที่
                       ปี 2558 ปลูกงาที่อำเภอตระการพืชผล น้ำหนักผลผลิต มีความแตกต่างทางสถิติ งาขาวมหาสารคาม 60

                       ให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ 54 กิโลกรัมต่อไร่ และมีค่าใกล้เคียงกับอีก 3 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ งาขาว

                       อุบลราชธานี 2 (39 กิโลกรัมต่อไร่)  งาดำอุบลราชธานี 3 (37 กิโลกรัมต่อไร่) และชัยบาดาล (34 กิโลกรัม
                       ต่อไร่) ตามลำดับ ปลูกงาที่อำเภอพิบูลมังสาหาร น้ำหนักผลผลิตมีความแตกต่างทางสถิติ สายพันธุ์ CM07

                       ให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ 31 กิโลกรัมต่อไร่ และมีค่าใกล้เคียงกับอีก 12 พันธุ์/สายพันธุ์ มีน้ำหนักผลผลิต
                       อยู่ระหว่าง 15 - 27 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการตรวจเช็คระดับความรุนแรงของโรคราแป้ง ไม่พบการเกิด

                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี


                                                           717
   779   780   781   782   783   784   785   786   787   788   789