Page 782 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 782

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชไร่น้ำมันอื่นๆ (งา, ทานตะวัน, สบู่ดำ)
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา

                       3. ชื่อการทดลอง             การปรับปรุงพันธุ์งาทนแล้ง : การเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกร

                                                   Farm Trial : Drought Tolerance Sesame Varietal Improvement
                                                                 1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          สมใจ  โควสุรัตน์            นัฐภัทร์  คำหล้า 2/
                                                   อานนท์  มลิพันธ์            ธำรง  เชื้อกิตติศักดิ์ 1/
                                                                 3/
                                                   จุไรรัตน์  หวังเป็น         สาคร  รจนัย 1/
                                                                  1/
                                                   สมหมาย  วังทอง              จำลอง  กกรัมย์ 1/
                                                                 1/
                       5. บทคัดย่อ

                               คัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง จำนวน 4 สายพันธุ์ จากการเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่น ได้แก่
                       สายพันธุ์ SD-50-6-2  SD-50-8-2  SD-50-9-1 และ SD-50-17-1 นำมาเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกร

                       3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครสวรรค์ และ จังหวัดลพบุรี และดำเนินการใน 2 ปี คือ
                       2557 ในต้นฤดูฝน รวม 3 แปลงทดลอง และปี 2558 ต้นและปลายฤดูฝน รวม 6 แปลงทดลอง ผลการ

                       ทดลองพบว่า ข้อมูลไม่เป็นเอกภาพ (heterogeneity) ไม่สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมทั้งหมดได้
                       เนื่องจากความแปรปรวนแต่ละแปลงทดลองค่อนข้างสูง จากสภาพอากาศที่แปรปรวน และการระบาด

                       ของโรคไหม้ดำ และเน่าดำ ที่สายพันธุ์งาทนแล้งไม่ทนทานต่อโรค จึงมีต้นตายมาก โดยเฉพาะที่ จังหวัด

                       อุบลราชธานี ทำให้ผลผลิตงาต่ำมาก ในขณะที่ พันธุ์รับรองงาแดงอุบลราชธานี 1 และงาดำอุบลราชธานี
                       3 มีแนวโน้มจะทนทานต่อโรคได้ดีกว่า ให้ผลผลิตมากกว่าซึ่งค่าเฉลี่ยผลผลิตของแต่ละสายพันธุ์ ปี 2557

                       สายพันธุ์ทนแล้ง SD-50-8-2 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตมากสุดเท่ากับ 116 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงไป คือ SD-50-6-2

                       ผลผลิตเฉลี่ย 96 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์รับรองงาแดงอุบลราชธานี 1 ผลผลิต 121 กิโลกรัมต่อไร่
                       ส่วนปี 2558 ให้ผลการทดลองในทำนองเดียวกัน สายพันธุ์ทนแล้ง SD-50-8-2 ผลผลิตมากสุดเท่ากับ

                       110 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงไป คือ SD-50-6-2 ผลผลิตเฉลี่ย 96 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์รับรองงาแดง

                       อุบลราชธานี 1 ผลผลิตมากกว่า เท่ากับ 131 กิโลกรัมต่อไร่ และงาดำอุบลราชธานี 3 ได้ 101 กิโลกรัมต่อไร่
                       ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรทั้ง 2 ปี งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 ได้ผลผลิตมากกว่า

                       สายพันธุ์ทนแล้งทุกพันธุ์ และมีเพียง 1 สายพันธุ์ทนแล้ง คือ สายพันธุ์ SD-50-8-2 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า
                       งาดำพันธุ์อุบลราชธานี 3

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                               สายพันธุ์งาทนแล้งที่ได้สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์งาต่อไป



                       ____________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
                       2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

                       3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี
                                                           715
   777   778   779   780   781   782   783   784   785   786   787