Page 80 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 80
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
2. โครงการวิจัย การวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้น
3. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยาง RRI-CH-39/1/2
Preliminary Proof Clone Trial of Hevea Hybrid RRI-CH-39/1/2
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ภัทรา กิณเรศ กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข 2/
ศยามล แก้วบรรจง นิพัฒน์ คงจินดามุนี 1/
1/
โสพล ทองรักทอง 3/
5. บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยาง RRI-CH-39/1/2 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิต
น้ำยางต่อไร่สูง เริ่มทำการทดลองเดือนตุลาคม 2554 และสิ้นสุดการทดลองในเดือนกันยายน 2558 รวม
5 ปี ใช้พันธุ์ยางลูกผสมจำนวน 97 สายพันธุ์ และพันธุ์ยางเปรียบเทียบ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ RRIM600,
BPM24 และ PB260 ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส วางแผนการทดลองแบบ Simple Lattice จำนวน 2 ซ้ำ ระยะปลูก 3 × 7 เมตร จำนวนต้น
7 ต้นต่อแปลงย่อย พื้นที่ทำการทดลอง 30 ไร่ หลังจากเปิดกรีด 4 ปี พบว่า ผลผลิตเฉลี่ย 4 ปีกรีด
ของยางทั้งแปลงเท่ากับ 201.38 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี โดยมีสายพันธุ์ยางจำนวน 23 สายพันธุ์ รวมทั้งพันธุ์
BPM24 และ PB260 (พันธุ์เปรียบเทียบ) ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ RRIM600 (พันธุ์เปรียบเทียบ) หรือคิดเป็น
ร้อยละ 23 ของจำนวนพันธุ์ทั้งหมด สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุด คือสายพันธุ์ RRI-CH-39-205 ให้ผลผลิต
เฉลี่ย 4 ปีกรีด 696 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมา คือ สายพันธุ์ RRI-CH-39-334 และ RRI-CH-39-23
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 537 และ 468 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ ส่วนพันธุ์เปรียบเทียบ PB260, BPM24
และ RRIM600 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 388.60, 373.00 และ 264.33 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ ส่วนการ
เจริญเติบโตเมื่ออายุยาง 10½ ปี พบว่า สายพันธุ์ยางลูกผสมจำนวน 39 สายพันธุ์มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น
มากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ (RRIM600) หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของสายพันธุ์ยางที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด
สายพันธุ์ลูกผสมที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้นมากที่สุด คือ สายพันธุ์ RRI-CH-39-334 มีขนาดเส้นรอบวง
ลำต้นเท่ากับ 75.87 เซนติเมตร สูงกว่าพันธุ์ RRIM600 (พันธุ์เปรียบเทียบ) ร้อยละ 140 รองลงมาคือ
สายพันธุ์ RRI-CH-39-278 และ RRI-CH-39-72 มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 65.22 และ 63.53 เซนติเมตร
ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 120 และ 117 เมื่อเทียบกับพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM600 (54.31 เซนติเมตร)
จากผลการทดลองนี้ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงสำหรับแนะนำเป็นพันธุ์ยางชั้น 3
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา
2/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส
13