Page 83 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 83
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
2. โครงการวิจัย การวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้น
3. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยาง RRI-CH-42/1/1
Preliminary Proof Clone Trial on RRI-CH-42/1/1
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ภัทรา กิณเรศ กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข 2/
ศยามล แก้วบรรจง นิพัฒน์ คงจินดามุนี 1/
1/
สุริยะ คงศิลป์ 3/
5. บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยาง RRI-CH-42/1/1 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิต
น้ำยางต่อไร่สูง เริ่มทำการทดลองเดือนตุลาคม 2546 และสิ้นสุดการทดลองในเดือนกันยายน 2558 โดย
ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ยางลูกผสมจำนวน 97 สายพันธุ์ และพันธุ์ยางเปรียบเทียบ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์
RRIM600, BPM24 และ PB260 ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ จังหวัดกระบี่ วางแผน
การทดลองแบบ Simple Lattice จำนวน 2 ซ้ำ ระยะปลูก 3 × 7 เมตร จำนวนต้น 7 ต้นต่อแปลงย่อย
พื้นที่ทำการทดลอง 30 ไร่ ผลการทดลอง พบว่า หลังจากเปิดกรีด 4 ปี สายพันธุ์ยางลูกผสมให้ผลผลิต
เฉลี่ย 4 ปีกรีด มากกว่าพันธุ์ RRIM600 (พันธุ์เปรียบเทียบ) จำนวน 54 สายพันธุ์ (รวมทั้งพันธุ์ BPM24)
หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของสายพันธุ์ยางทดลอง และให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้งแปลง 270.80 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
สายพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงสุด คือ สายพันธุ์ RRI-CH-42-630 ให้ผลผลิตน้ำยางเฉลี่ยสูงถึง 677.87
กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และให้ผลผลิตกรัมต่อต้นต่อครั้งกรีดสูงสุดเช่นเดียวกันเท่ากับ 108.56 กรัมต่อต้นต่อ
ครั้งกรีด รองลงมา คือสายพันธุ์ RRI-CH-42-1138 และ RRI-CH-42-1527 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4 ปีกรีด
เท่ากับ 563.30 และ 513.90 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีตามลำดับ ทั้งสามสายพันธุ์ให้ผลผลิตน้ำยางคิดเป็น
ร้อยละ 264, 220 และ 200 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ RRIM600 ส่วนพันธุ์เปรียบเทียบพันธุ์
BPM24 และพันธุ์ PB260 ให้ผลผลิต 286.99 และ 209.41 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ สำหรับการ
เจริญเติบโตของสายพันธุ์ยางลูกผสมเมื่ออายุ 12 ปี พบว่า มีสายพันธุ์ยางจำนวน 25 สายพันธุ์ที่มีการ
เจริญเติบโตมากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM600 และสายพันธุ์ยางทั้งแปลงมีขนาดเส้นรอบวงลำต้น
ระหว่าง 39.95 - 89.61 เซนติเมตร โดยสายพันธุ์ที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้นมากที่สุด คือ RRI-CH-42-1259
ให้ขนาดเส้นรอบวงลำต้น 89.61 เซนติเมตร รองลงมา คือสายพันธุ์ RRI-CH-42-212 และ RRI-CH-42-1317
ให้ขนาดเส้นรอบวงลำต้น 84.93 เซนติเมตร ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ RRIM600, BPM24 และ PB260
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา
2/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
3/ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่
16