Page 87 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 87

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          การปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

                       2. โครงการวิจัย             การวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้น

                       3. ชื่อการทดลอง             การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยาง RRI-CH-44/1/1
                                                   Small Scale Clone Trial RRI-CH-44/1/1

                                                                           1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ชัชมณฑ์  แดงกนิษฐ์ นาถาวร    ภัทรา  กิณเรศ 2/
                                                   กรรณิการ์  ธีระวัฒนสุข       อารมณ์  โรจน์สุจิตร 1/
                                                                      3/
                       5. บทคัดย่อ

                               การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยาง RRI-CH-44/1/1 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพันธุ์ยาง
                       ใหม่ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง การเจริญเติบโตดี ต้านทานโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี

                       มีคุณสมบัติของน้ำยางที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมยาง และมีลักษณะของพันธุ์ยางตรงตามความต้องการ

                       ของเกษตรกร สำหรับนำไปทดลองในการเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลายต่อไป เริ่มการทดลองในปี 2549
                       ดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี วางแผนการทดลองแบบ 10 x 10 Double

                       Lattice จำนวน 2 ซ้ำ ใช้พันธุ์ยาง 100 สายพันธุ์ เปรียบเทียบกับพันธุ์ PB 260 ใช้ระยะปลูก 3 x 7 เมตร
                       จำนวน 8 ต้นต่อแปลงย่อย ผลการดำเนินงานในระยะที่ 2 (ปี 2554-2558) พบว่าการเจริญเติบโตเมื่อต้นยาง

                       อายุ 7 ปี มีขนาดเส้นรอบวงลำต้นแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยทั้งแปลงเท่ากับ 44.28 เซนติเมตร

                       โดยสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุด คือ สายพันธุ์ RRI-CH-44-569 มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ย 58.0
                       เซนติเมตร รองลงมา คือ RRI-CH-44-314 มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ย 53.3 เซนติเมตร ส่วนพันธุ์ PB 260

                       ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ย 38.7 เซนติเมตร เริ่มเปิดกรีดในเดือนพฤษภาคม 2557

                       ขณะที่ต้นยางมีอายุ 7 ปีครึ่ง จำนวนต้นเปิดกรีดทั้งแปลงคิดเป็น 50.2 เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์
                       ต้นเปิดกรีดได้สูงสุด คือ RRI-CH-44-569 คิดเป็น 93.8 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ RRI-CH-44-1589,

                       RRI-CH-44-817, RRI-CH-44-1537 และ RRI-CH-44-524 คิดเป็น 85.7, 83.3, 81.3 และ 81.3 เปอร์เซ็นต์
                       ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ PB 260 มีต้นเปิดกรีดได้ 31.4 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตน้ำยางที่เป็นเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 1

                       ปีกรีด พบว่าสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือ สายพันธุ์ RRI-CH-44-1586 เท่ากับ 68.7 กรัมต่อต้น

                       ต่อครั้งกรีด ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ PB260 มีผลผลิต 26.2 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด ส่วนค่าเฉลี่ยของทั้งแปลง
                       เท่ากับ 31.2 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งมีค่าเฉลี่ย 36.69 เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์ที่มี

                       เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงสุด คือ RRI-CH-44-344 เท่ากับ 46.7 เปอร์เซ็นต์ ความหนาเปลือกเมื่ออายุ
                       6 ปี และ 8 ปี เฉลี่ยเท่ากับ 7.39 และ 8.78 มิลลิเมตร ตามลำดับ สายพันธุ์ที่เด่นในการให้ผลผลิต






                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา
                       3/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
                                                           20
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92